วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ฎีกาป้องกัน

พอสมควรแก่เหตุ

ผู้เสียหายใช้สนับมือชกต่อยจำเลย และจะชกซ้ำอีก จำเลยใช้มีดแทงสวนไป (๙๓๐๘/๒๕๔๖)

ผู้ตายจะใช้มีดฟันจำเลย จำเลยใช้มีดฟันผู้ตาย ( ๘๘๗๙/๒๕๔๒ )

ผู้ตายพกปืนเข้าไปทำอนาจารภรรยาจำเลย จำเลยเข้าแย่งปืนแล้วยิงผู้ตาย

(๘๐๘/๒๕๔๐)

๓๔๗๕/๒๕๓๒ ผู้เสียหายเข้าไปในบ้านจำเลยและยิงปืน ๑ นัด และแสดงอาการจะทำร้ายจำเลย จำเลยใช้ปืนยิงไป ๖ นัด โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายล้มลงหรือจะหยุดการคุกคามเมื่อใด และผู้เสียหายยังสามารถหลบหนีออกไปจากบ้านของจำเลยได้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อป้องกันตน และเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด

๖๑๕/๒๕๐๓ ผู้ตายล่ำใหญ่กว่าจำเลยและประพฤติผิดศีลธรรมต่อนางสาวสมจิตรบุตรเลี้ยงของ จำเลยขึ้นก่อน เมื่อเกิดต่อว่ากันขึ้นแล้ว ผู้ตายแทงจำเลยก่อน และเมื่อกอดปล้ำกัน แล้วจำเลยดิ้นไม่หลุด จำเลยจึงต้องแทงผู้ตายไปบ้างเป็นการป้องกันตัว อาวุธของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างเดียวกัน บาดแผลก็ขนาดเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการพอสมควรแก่เหตุ


เกินสมควรแก่เหตุ

ผู้ตายไม่มีอาวุธเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้ตายที่หน้าอก (๒๓๕๓/๒๕๓๐)

ผู้ ตายด่าและท้าทายให้จำเลยออกมาต่อสู้กันแล้วเข้ากระชากคอเสื้อจำเลย จำเลยใช้มีดขนาดใหญ่มีความยาวทั้งคมมีดและด้าม ๑ ฟุต แทงที่ลำตัวผู้ตาย ๙ แผล ( ๕๑๘๘/๒๕๔๐ )

ผู้ตายเมาสุรามากจนครองสติไม่ได้เข้ากอดจูบกอด ปล้ำจำเลย ขณะนั้นจำเลยแต่งกายใส่กางเกงเรียบร้อย การกระทำของผู้ตายไม่ถึงขั้นจะข่มขืนกระทำชำเราจำเลย กรณียังไม่พอถือว่าเป็นภยันตรายที่จะใกล้จะถึงสำหรับการจะถูกข่มขืนกระทำ ชำเรา คงเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงเฉพาะที่ผู้ตายกระทำอนาจารเท่านั้น ขณะนั้นผู้ตายเมาสุรามากจนแทบจะครองสติไม่ได้จำเลยอาจกระทำการใดเพื่อ ป้องกันโดยไม่จำต้องให้ผู้ตายถึงตายก็ได้ การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายในที่สำคัญจนผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการ ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ( ๒๐๐๑/๒๕๓๐)




เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

๓๒๐๖/๒๕๓๖ จำเลยเข้าจับกุมผู้เสียหายซึ่งเล่นการพนัน ผู้เสียหายต่อสู้โดยฟันจำเลยที่กกหูขวา การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงถูกผู้เสียหายที่หน้าท้อง ในขณะที่มีภยันตรายเพียงนัดเดียว ก็เพียงพอแก่การที่จำเลยจะป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยยังยิงขาผู้เสียหายขณะผู้เสียหายกำลังหันหลังจะวิ่งหนีและจำเลยยัง เข้าทำร้ายผู้เสียหายขณะล้มลงอีก โดยผู้เสียหายหมดโอกาสทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา ๖๙

๒๐๖๖/๒๕๓๓ ผู้ตายกับพวกรวม ๓ คน ถีบประตูห้องพักของจำเลยเพื่อจะเข้าไปทำร้ายจำเลยจนกลอนประตูหลุด ประตูเปิด แล้วเข้าไปทำร้ายจำเลยและจะทำร้ายภรรยาจำเลยซึ่งมีครรภ์อยู่เป็นการกระทำที อุกอาจและเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ทั้งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยใช้มีดแทงคนทั้งสาม แม้จะแทงหลายทีก็เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีความผิด

หลังจากผู้ตายวิ่งออกมา จากห้องพักของจำเลยแล้ว จำเลยติดตามออกมาและใช้มีดแทงผู้ตายอีก ๓ ที เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระทำ ของจำเลยในตอนแรกซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยแทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสทำร้ายจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตร ๖๙

๒๐๖๖/๒๕๓๓ ผู้ตายกับพวกรวม ๓ คน ถีบประตูห้องพักของจำเลยเพื่อจะเข้าไปทำร้ายจำเลยจนกลอนประตูหลุด ประตูเปิด แล้วเข้าไปทำร้ายจำเลยและจะทำร้ายภรรยาจำเลยซึ่งมีครรภ์อยู่เป็นการกระทำที อุกอาจ และเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ทั้งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยใช้มีดแทงคนทั้งสาม แม้จะแทงหลายทีก็เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีความผิด หลังจากผู้ตายวิ่งออกมาจากห้องพักของจำเลยแล้ว จำเลยติดตามออกมาและใช้มีดแทงผู้ตายอีก ๓ ที เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระทำ ของจำเลยในตอนแรกซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยแทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสทำร้ายจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา ๖๙ ( ที่ถือว่าเป็นป้องกันก็เพราะจำเลยกระทำต่อเนื่องกับการป้องกันโดยชอบในตอน แรก ยังไม่ขาดตอน จำเลยยังไม่ได้เปลี่ยนเตนา ขณะนั้นภยันตรายลดลงไปเป็นอันมากแต่ก็ยังมีภยันตรายอยู่ แม้จะมีอยู่เพียงเล็กน้อย แต่ก็ภยันตรายก็ยังไม่หมดไปโดยเด็ดขาด จึงยังเป็นป้องกันอยู่ การที่ภยันตรายเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย จำเลยไม่จำต้องใช้วิธีการป้องกันที่รุนแรง จำเลยใช้วิธีการป้องกันโดยการแทงผู้ตายถึง ๓ ที จึงเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเป็นว่า จำเลยแทงผู้ตาย ๓ ที เพราะความโกรธ ที่ถูกผู้ตายทำร้ายก่อน กรณีนี้ไม่ใช่เป็นป้องกัน เพราะจำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะกระทำเพื่อป้องกัน แต่เป็นบันดาลโทสะ )


ถ้าภัยที่จะต้องป้องกันหมดไปแล้วไม่เป็นป้องกัน

ฎีกา ที่ ๗๑๘๓/๒๕๔๔ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายถูกที่ไหล่ซ้ายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย และจำเลยให้การชั้นสอบสวนตามเอกสารหมาย จ. ๘ ไปตามความจริง มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า บันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเอกสารหมาย จ. ๘ ปรากฏข้อความว่า คืนเกิดเหตุขณะที่จำเลยเฝ้าเครื่องวิดน้ำอยู่คนละฝั่งคลองกับบ้านของมารดา จำเลยเห็นคนถือตะเกียงแก๊สเดินผ่านบ้านของมารดาจำเลยไป จำเลยสังเกตดูอยู่ตลอดเพราะที่บ้านของจำเลยทรัพย์สินหายบ่อย แล้วจำเลยพายเรือข้ามคลองมาซุ่มอยู่ที่ชายคลอง สักพักมีคนเดินถือตะเกียงแก๊สเข้าไปใต้ถุนบ้านของมารดาจำเลยและดับตะเกียง จำเลยเดินไปดักคนที่ถือตะเกียงด้านหน้า แล้วตะโกนถามว่าใคร คนที่เดินอยู่ใต้ถุนบ้านของมารดาจำเลยพูดว่าไม่ใช่ขโมย จำเลยเห็นคนดังกล่าวถือมีดอยู่ด้วย จึงได้นำอาวุธปืนที่ติดตัวมายิงไป ๑ นัด ถูกที่บริเวณไหล่ซ้าย ต่อมาจึงทราบว่าเป็นผู้เสียหายซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้กับบ้านของมารดาจำเลย ข้อความที่ปรากฏในคำให้การของจำเลยตามเอกสารหมาย จ. ๘ ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า แม้ผู้เสียหายจะถือมีดเข้าไปในบ้านของมารดาจำเลยในเวลากลางคืนโดยไม่มี เหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาพบได้มีการพูดจาโต้ตอบกันและผู้เสียหายได้บอกแก่จำเลยแล้ว ว่าไม่ใช่ขโมย เหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์จึงหมดไป แล้ว ไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐

การกระทำต่อเนื่องจากเจตนาป้องกัน

๘๕๓๔/๒๕๔๔ พฤติการณ์ของจำเลยที่พยายามช่วยเหลือ ถ. ซึ่งถูกกลุ่มวัยรุ่นตีศีรษะด้วยขวดสุราและรุมทำร้ายในบ้านของจำเลยโดยจำเลย ใช้อาวุธปืนยิงขู่ขึ้นฟ้า ๓ นัด และขณะนั้นจำเลยถืออาวุธปืนขู่พร้อมที่จะยิงขึ้นฟ้าอีกเพื่อระงับเหตุมิให้ กลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้าย ถ. แต่จำเลยถูกกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังจนเป็นเหตุให้ล้มลง และกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ได้ลั่นขึ้น ๑ นัด ถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่นให้พ้น ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้ จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหายและผู้ตายโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา ๖๐ จำเลยก็ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา ๖๘ มิใช่จำเลยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

การกระทำที่ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอ้างป้องกันไม่ได้

๒๙๘๗/๒๕๔๓ จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายทั้งสองในขณะโต้เถียงกัน ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่เป็นป้องกัน

จำเลย ใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ ๑ แล้วไปฟันผู้เสียหายที่ ๒ ขณะที่ผู้เสียหายที่ ๒ เดินอยู่ห่างจากผู้เสียหายที่ ๑ ประมาณ ๕ เมตร อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรมกัน เป็นพยามฆ่า ๒ กระทง

สำคัญผิดว่ามีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอ้างป้องกันได้

๕๒๑๕/๒๕๓๙ ผู้ตายมีนิสัยเป็นนักเลง อันธพาล ใจคอดุร้าย วันเกิดเหตุผู้ตายได้กล่าวคำอาฆาตจำเลยกับบุตรจำเลยแล้วดื่มสุราก่อนมาหา จำเลย เมื่อผู้ตายเข้ามาในบริเวณบ้านจำเลย จำเลยบอกให้ผู้ตายหยุด แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและเดินตรงเข้าหาจำเลยระยะห่างเพียง ๕ วา พฤติการณ์ของผู้ตายส่อลักษณะอาการที่มุ่งร้ายต่อชีวิตของจำเลย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยมีความชอบธรรมที่จะป้องกันภยันตรายได้ตามสมควรจำเลยอายุ ๖๘ ปี อยู่ในวัยชรา ส่วนผู้ตายอายุ ๒๖ ปี เป็นชายฉกรรจ์ ในภาวะเช่นจำเลยต้องประสบในขณะนั้นย่อมต้องเข้าใจว่า ผู้ตายคงจะต้องมีอาวุธติดตัวมาและจะมาฆ่าจำเลย โอกาสไม่อำนวยให้จำเลยได้ตั้งสติไตร่ตรองได้ว่า ผู้ตายมีอาวุธร้ายแรงแค่ไหน การที่จำเลยยิงปืนใส่ผู้ตายเพียง ๑ นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

วิวาท อ้างป้องกันไม่ได้ เพราะเป็นการสมัครใจที่จะเข้าเสี่ยงภัย แต่ถ้าไม่ได้สมัครใจวิวาทจะเป็นเรื่องจำต้องกระทำป้องกัน จึงอ้างป้องกันได้

๓๑๘๗/๒๕๓๐ พฤติการณ์ที่จำเลยสมัครใจวิวาท ท้าทาย และใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมกำลังจะทำร้ายจำเลยก่อน จึงเป็นการแสดงเจตนาฆ่า จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันหาได้ไม่

๑๓๐๕/๒๕๓๗ การที่จำเลยพูดโต้เถียงกับผู้ตายอันเป็นทำนองท้าทายผู้ตายแสดงว่าจำเลย สมัครใจจะทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายถึงแก่ความตายจึงไม่สามารถอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมายได้

๒๖๖๙/๒๕๓๘ ก่อนเกิดเหตุประมาณ ๑๐ วัน จำเลยที่ ๑ เคยทะเลาะและชกต่อยกับจำเลยที่ ๒ เนื่องมาจากจำเลยที่ ๒ ค้างชำระค่าอาหารที่ร้านของจำเลยที่ ๑ วันเกิดเหตุก่อนเวลาเกิดเหตุจำเลยที่ ๒ ได้ขับรถจักรยานยนต์ผ่านหน้าร้านของจำเลยที่ ๑ แล้วชะลอความเร็วของรถลงและตะโกนเข้ามาในร้านของจำเลยที่ ๑ ว่า สบายนะ เดี๋ยวมา ต่อมาอีกสักครู่ ค.ภรรยาของจำเลยที่ ๒ ขับรถจักรยานยนต์ผ่านหน้าร้านของจำเลยที่ ๑ และตะโกนเข้ามาในร้านอีกว่าซุมกระจอกหมายความว่าพวกกระจอก จากนั้นจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ได้เข้ามายืนอยู่ที่หน้าร้านและเรียกคนในร้านออกไป เมื่อคนในร้านไม่ออกไปจำเลยที่ ๓ ได้เข้ามาใช้มีดไล่แทงบุตรชายของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ ถือมีดยืนคุมเชิงอยู่หน้าร้าน เมื่อจำเลยที่ ๑ เข้าห้ามก็ถูกจำเลยที่ ๓ ใช้มีดฟัน

จำเลยที่ ๑ จึงเข้าไปคว้ามีดปังตอซึ่งมีไว้สำหรับสับเนื้อออกมานอกร้าน และเห็นจำเลยที่ ๓ วิ่งไล่ ว. โดยมีจำเลยที่ ๒ ยืนถือมีดคุมอยู่ จำเลยที่ ๑ วิ่งผ่านจำเลยที่ ๒ แต่ผ่านไม่ได้จึงเกิดการต่อสู้กับจำเลยที่ ๒ ระหว่างต่อสู้ ท.ได้เข้ามาช่วยจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ด้วย เมื่อปรากฏว่าก่อนจะเกิดเหตุจำเลยที่ ๒ และ ค.ภรรยาจำเลยที่ ๒ เป็นฝ่ายก่อเหตุและหาเรื่องจำเลยที่ ๑ กับพวกขึ้นก่อน แม้จำเลย

ที่ ๑ มีสาเหตุทะเลาะชกต่อยกับจำเลยที่ ๒ มาก่อนวันเกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ ๒ และ ค.ยังเจ็บแค้นจำเลยที่ ๑ แล้วนำไปก่อเรื่องจนทำให้เกิดเหตุทำร้ายกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยที่ ๑ กับพวกหาได้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ด้วยไม่ หากแต่เป็นการกระทำที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้ พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่ใกล้จะถึงและได้ กระทำพอสมควรแก่เหตุแล้ว การกระทำของจำเลยที่ ๑ ย่อมเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่อาจเป็นทั้งการกระทำโดยบันดาลโทสะและป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะเดียวกันได้

๖๓๗/๒๕๓๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่อาจเป็นทั้งการกระทำโดยบันดาลโทสะและป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายในขณะเดียวกันได้เนื่องจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการ ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่ผู้กระทำจะใช้สิทธิป้องกันได้จะต้องเป็น ภยันตรายที่ใกล้จะถึงและขณะใช้สิทธิป้องกัน ภยันตรายนั้นยังมิได้สิ้นสุดลงหากภยันตรายนั้นผ่านพ้นไปแล้วผู้กระทำก็ไม่ อาจใช้สิทธิป้องกันได้ อย่างไรก็ดี ภยันตรายดังกล่าวแม้จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง หากผู้ถูกข่มเหงได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นคือในระยะเวลาต่อ เนื่องที่ตนยังมีโทสะอยู่ ย่อมถือว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ

๕๖๙๘/๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ ๒ ได้วิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย จำเลยที่ ๒ เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ ๑ ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจำเลยที่ ๒ จนเซไป แล้วหวนกลับไปทำร้ายจำเลยที่ ๑ อีก จำเลยที่ ๒ จึงใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายถูกที่บริเวณศีรษะและหน้าผาก เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ การที่จำเลยที่ ๑ วิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย เป็นการสมัครใจวิวาท มิใช่ผู้เสียหายประทุษร้ายจำเลยที่ ๑

ฝ่ายเดียว แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ ๑ อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ ๒ จึงไม่มีสิทธิที่จะป้องกันจำเลยที่ ๑ ได้ ส่วนที่จำเลยที่ ๒

ใช้ เก้าอี้ตีผู้เสียหายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ ๒ เข้าไปห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ ๑ จึงถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจำเลยที่ ๒ จนเซไป แล้วผู้เสียหายได้หวนกลับมาจะทำร้ายจำเลยที่ ๑ ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่ ๒ เองคือการถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จำเลยที่ ๒ ใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายกลับเข้าไปทำร้ายจำเลยที่ ๑ อีกเช่นนี้ ไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่ เป็นธรรม ตาม ป.อ. มาตรา ๗๒

3655/2530 ผู้ตายถือขวดแตกจะแทงจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 วิ่งหนีผู้ตายไล่ตาม จำเลยที่ 1 คว้าไม้ท่อนจะตีผู้ตาย ผู้ตายวิ่งหนีไป จึงถือได้ว่าสิทธิในการป้องกันตนของจำเลยที่ 1 ขาดตอนไปแล้ว การที่จำเลยที่ 1 โมโหวิ่งไล่ตามไปตีผู้ตายจนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 (พฤติการณ์ของผู้ตายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย เหตุไม่เป็นธรรม )

๑๙๙๒/๒๕๓๒ ผู้ตายใช้อาวุธปืนตบหน้าบุตรจำเลยเป็นบาดแผลมีโลหิตไหลที่ใบหน้าเมื่อบุตร จำเลยวิ่งหนีขึ้นบนบ้าน ผู้ตายซึ่งมีอาวุธปืนยังติดตามเข้าไปในบ้านอีก แล้วเกิดโต้เถียงกับจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในขณะนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่ เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๒ ( ที่ไม่เป็นป้องกันเพราะภยันตรายที่ผู้ตายทำร้ายบุตรจำเลยได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะเมื่อผู้ตายเข้าไปในบ้านจำเลยนั้น ผู้ตายไม่ได้ติดตามไปทำร้ายบุตรจำเลย แต่ได้ไปยืนโต้เถียงกับจำเลย และไม่มีข้อเท็จจริงว่าผู้ตายจะใช้อาวุธปืน

ยิงจำเลยหรือบุตรจำเลย แสดงว่าไม่มีภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของจำเลยหรือบุตรจำเลย และจำเลยก็ไม่ได้ยิงผู้ตายโดยเจตนาที่จะป้องกัน เป็นการยิงไปเพราะความโกรธที่เห็นผู้ตายทำร้ายบุตรจำเลย คดีไม่มีประเด็นว่า จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายมีอาวุธบุกรุกเข้าไปในบ้านจำเลยอันเป็นความผิดฐาน บุกรุก และเป็นภยันตรายที่จำเลยจะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ ถ้าหากมีประเด็นดังกล่าว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยิงผู้ตายเพราะมีเจตนาที่จะป้องกันทรัพย์สิน ของจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยก็อาจเป็นป้องกันเกินสมควรแก่เหตุได้ )


เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นภยันตรายที่สามารถป้องกันได้

๒๙๑๔/๒๕๓๗ โรงค้าไม้มีรั้วรอบขอบชิดและนอกจากใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้ว ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ในยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการภายในบริเวณโรงค้าไม้ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่กลับเป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒(๑๓)

แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็น เจ้าพนักงานตำรวจจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่า จำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๗๘(๔) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา ๘๑ บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งกระทำไปไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว การที่โจทก์ร่วมกับพวกทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยก็เป็น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น