วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การรับรองบุตร

การรับรองบุตร

๑.หลักกฎหมาย
ปพพ.ม.1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของ เด็กและมารดาเด็ก นั่นหมายถึงบิดาต้องตามควมเป้นจริงแต่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะชอบต่อเมื่อตาม 1557 กรณีรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและแม่เด้กที่จะรับรอง(ไม่ใช่ ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา)เด็กรู้เดียงสาไม่มีปัญหาเรื่องยินยอม ถ้าแม่เด้กยินยอมด้วยก็นำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของพ่อแม่ สูติบัตรของเด็ก หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว สกุล(ถ้ามี)ติดต่อนายทะเบียนอำเภอไหนก็ได้จดทะเบียนได้ในระบบคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ จากนั้นขอคัดสำเนาหลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตรใช้แสดงขอใช้สิทธิได้ทันที ตาม1557 หากไม่ได้รับความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ก็จำเป้นต้องใช้สิทธิทาง ศาลเยาวชนฯต่อไป ยืนยันว่าไม่ต้องให้ภรรยาตัวจริงยินยอมต่อนายทะเบียน แต่จะให้รู้หรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัว

๒.การจดทะเบียนรับรองบุตร ข้อมูลจาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ
เอกสารที่ใช้
-  บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
-  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เกี่ยวข้อง
-  สูติบัตรของบุตร
-  หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร
-  หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร
-  พยานบุคคล 2 คน

ขั้นตอนการดำเนินงาน
* บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต
*เด็ก และมารดาเด็ก ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอม ได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

อื่น ๆ

แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร

๓.การฟ้องคดีต่อศาล

๓.๑ หลักกฎหมาย
(๑) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1555 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้มีได้แต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง หญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้ง ครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวง ร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐาน ว่าบิดาเป็นผู้แจ้งเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิง มารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิง นั้นอาจตั้งครรภ์ได้และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของ ชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร

(๒) การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร จะฟ้องได้เมื่อเด็กได้คลอดจากครรภ์มารดาแล้ว( คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2480 การฟ้องรับรองบุตรนั้น จะฟ้องได้ต่อเมื่อเด็กนั้นได้คลอดจากครรภ์มารดาแล้ว และมีชีวิตรอดอยู่เป็นสภาพบุคคล) จะฟ้องในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาไม่ได้และมีชีวิตอยู่เป็นสภาพบุคคลก่อน นั่นคือเด็กคนนั้น จะต้องมีชีวิตอยู่ไม่ใช่แท้งหรือตาย  สำหรับลูกของคุณที่อยู่ในท้องจะดำเนินการได้ ต้องรอให้เด็กคลอดมาเป็นทารกก่อนครับ

 ๓.๒ หลักฐานในคดี
สิ่งที่คุณควรทำในตอนนี้คือพยายามสะสมเอกสารของบิดาที่ได้แสดงไว้ว่า เด็กนั้นเป็นบุตร ก็สามารถร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรได้ ซึ่งอาจเป็นหนังสือที่แสดงไว้โดยตรง หรือโดยปริยายก็ได้ จะทำให้ไว้กับมารดาเด็กหรือบุคคลอื่นก็ได้ ไม่ว่าจะทำโดยสมัครใจ หรือถูกบังคับก็ตาม เช่น ทำให้ไว้กับผู้บังคับบัญชาในขณะที่มารดาเด็กได้ร้องเรียนทางวินัย ว่าจะรับผิดชอบ ค่าอุปการะเลี้ยงเด็กเพราะตนเป็นบิดา เป็นต้น หรือพยายามให้บิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น ก็เป็นเงื่อนไขอันหนึ่งที่บิดายอมรับว่าเด็กคนนี้ เป็นบุตรที่ใช้เป็นหลักฐานขอให้ศาลพิพากษาว่า เด็กเป็นบุตรได้ ข้อควรระวัง...โดยปกติเด็กคลอดที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มักจะสอบถามชื่อบิดาเด็กจากมารดา และมารดาเป็นผู้แจ้งชือบิดาโดยตัวบิดาไม่ได้แจ้งเองจึงอาจมีการโต้แย้งได้ว่า บิดาไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแจ้งเกิดเด็กก็ได้ครับ

หลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับบิดามารดาได้อยู่กันอย่างเปิดเผย ในระยะเวลาที่หญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้ เช่น บิดาเป็นผู้ไปจ่ายค่าห้องเช่าที่อาศัยอยู่ด้วยกันในช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์โดยมีพยานรู้เห็นทั่วไป รวมทั้งพฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นที่รู้โดยทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร เช่น บิดาให้เด็กใช้นามสกุลของตน บิดาแสดงต่อบุคคลอื่น ว่าเด็กเป็นบุตร เป็นต้น การฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร สามารถฟ้องรวมกันไปเป็นคดีเดียวกันกับการฟ้องให้ศาล พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร เพราะถ้าศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ศาลก็จะกำหนด ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในคดีนั้นไปด้วยกันเลยครับ

๔.คำถามที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น