วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ขำขันทนาย ๒

ทนายความคนหนึ่งแห่งมหานคร ลอส แอนเจลิส ได้ถึงแก่ความตาย และวิญญาณของเขา ได้มาโผล่ที่ประตูสวรรค์ เซนต์ ปีเตอร์ก็ถามว่า : "ไหนลองบอกมาซิ ว่าเจ้าเคยทำคุณงามความดีอะไรมาบ้าง เพื่อที่จะได้ผ่านเข้าประตูสวรรค์แห่งนี้?"
ทนายหนุ่มคิดย้อนถึง เรื่องราวในอดีตอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงตอบ : "เมื่อสัปดาห์ก่อนนี้ ข้าได้ให้เงินสลึงหนึ่งแก่พวกคนจรจัดบนท้องถนน ครับท่าน"
เซนต์ ปีเตอร์ก็หันไปบอกเทพกาบริเอล ให้ตรวจดูบันทึกดูซิ เทพกาบริเอลก็เปิดบันทึกดู แล้วกล่าวยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง
เซนต์ ปีเตอร์ : "อืม..นั่นนับว่าเป็นเรื่องที่ดี..แต่ก็ไม่นับว่าดีพอ ที่จะให้เจ้าผ่านเข้าประตูสวรรค์แห่งนี้"
ทนายหนุ่ม : "เดี๋ยวๆ ครับท่าน !" "คือว่า ยังมีอีกนะครับ! ขอบอก คือว่า เมื่อสามปีก่อน ก็ครั้งหนึ่ง ที่ข้านั้น ก็เคยได้ให้เงินสลึงหนึ่งแก่พวกคนจรจัดบนท้องถนนนะท่าน"
เซนต์ ปีเตอร์ก็หันไปพยักหน้าให้เทพกาบริเอลตรวจเช็คดูบันทึกอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเทพกาบริเอลก็ได้ทำการตรวจดูแป๊บนึง แล้วก็พยักหน้าตอบกลับมาว่า ที่บอกมานั้นเป็นความจริง
เซนต์ ปีเตอร์จึงกระซิบถามเทพกาบริเอล : "อืม..ไหนท่านช่วยบอกมาซิว่า เราจะเอายังไงกับเจ้าหมอนี่ดี?"
เทพกาบริเอลเหลือบตาชำเลืองมองทนายหนุ่มแว๊บหนึ่ง แล้วตอบว่า : "คืนสองสลึงนั่นให้มันไป แล้วบอกให้มันลงนรกไปเลย"

คำสั่งก่อนตาย 

ชาย คนหนึ่งขอร้องเพื่อนสนิททั้งสาม ได้แก่ หมอ นักสังคมสงเคราะห์ และทนายความ ว่าเมื่อใดที่เขาตายไป ให้นำเงินหนึ่งล้านบาท ในซองที่เขากำลัง จะมอบให้เพื่อนแต่ละคนนี้ ใส่ลงไปในโลงศพด้วย ก่อนที่จะเผา เพราะเขาอยากจะมีเงิน ไว้ใช้ในชาติหน้า สัปดาห์ต่อมา ชายคนนี้ได้ตายลง ด้วยอุบัติเหตุ ในงานเผาศพ เพื่อนทั้งสามก็ได้ใส่ซอง ที่ชายคนนี้มอบให้ ลงไปในโลงทั้ง 3 ซอง อย่างที่ได้ตกลงกันไว้

เมื่องานเผาศพ ผ่านไปได้สัปดาห์หนึ่ง คนทั้งสามบังเอิญมาเจอกันในบาร์ จึงชวนกันกินเหล้า นั่งไปได้สักครู่ นัก สังคมสงเคราะห์เริ่มรู้สึกละอายใจ จึงสารภาพออกมา "พวกนายจำเรื่องซองเงิน หนึ่งล้านนั่นได้ไหม พวกนายจะด่า จะว่าเราก็ได้นะ เราขอสารภาพว่า เราใส่ลงไปแค่ 10,000 บาท เท่านั้นเอง แม้เงินที่เหลือนั้น ส่วนหนึ่งเราเอาไปบริจาค ให้พวกเด็กกำพร้าเมื่อวานนี้ แต่เรายังรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเลย" ฝ่ายหมอ ได้ยินเข้า จึงรีบพูดขึ้นว่า "ก็ดีแล้วที่นายพูดขึ้นมา เราก็ขอสารภาพเหมือนกัน ว่าเราเหลือเงินไว้ในซองแค่ 8,000 บาท เท่านั้นเอง เราเอาเงินไปใช้ส่วนหนึ่ง แล้วก็บริจาคให้มูลนิธิโรคไต"

ฝ่าย ทนายนั่งฟังอยู่นาน ทนไม่ไหวจึงโวยวายขึ้น "อะไรกันเนี่ย พวกนายเป็นเพื่อนประเภทไหนกัน ไอ้จ้อยมันอุตส่าห์ไว้ใจพวกเรา แต่แกกลับโกงคนตายอย่างงี้เรอะ ให้ตายเถอะ ฉันจะบอกพวกแกไว้เอาบุญนะ ว่าในซองนั่นน่ะฉันใส่เงินครบ ทุกบาททุกสตางค์ตามที่จ้อยมันสั่ง แถมยังเพิ่มเงินของฉันให้อีก 300,000 บาท"

"อะไรนะ นายหมายความว่า ทั้งหมดหนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วนๆ เลยเรอะ" เพื่อนทั้งคู่ถาม อย่างไม่เชื่อหูตนเอง

ทนายนิ่งไปพักหนึ่ง ก่อนตอบเบาๆ "อืม! ใช่ ถ้วนๆ เลย แต่ฉันเปลี่ยนเป็น เช็คเงินสดว่ะ เพื่อให้สะดวก ขณะเดินทางสำหรับไอ้จ้อย"

ใจไม่ถึง
 เจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพล จับได้ว่า สมุห์บัญชี ซึ่งเป็นคนใบ้ หูหนวก แอบยักยอกเงินไปกว่า 10 ล้านบาท
เจ้าพ่อจึงจ้างทนายความที่เชี่ยวชาญ ภาษามือเป็นพิเศษเพื่อทำการสอบสวนสมุห์บัญชี
เจ้าพ่อ: ถามมันซิ ว่ามันเอาเงินไปซ่อนไว้ที่ไหน

ทนายความหันไปส่งภาษามือกับสมุห์บัญชี ซักพักก็หันมารายงานเจ้าพ่อว่า"มันบอกว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไรกัน"

เจ้าพ่อโกรธจัด ชักปืนออกมาจ่อที่ขมับของสมุห์บัญชี แล้วบอกทนายความว่า"ถามมันอีกครั้ง ว่ามันเอาเงินไปซ่อนไว้ไหน"

ทนายความหันไปส่งภาษามืออีกครั้ง แปลได้ความหมายว่า "ถ้าแกไม่บอก เค้าจะระเบิกสมองแกแน่"


สมุห์ บัญชีกลัว จึงบอกกับทนายความมาเป็นภาษามือว่า " อย่าฆ่าชั้นเลย ชั้นบอกแล้ว เงินทั้งหมดอยู่ในกระเป๋าสีดำใบใหญ่ ฝังอยู่ที่โคนต้นไม้ไกล้กับสุสาน ห่างจากบ้านของ มาคัส ลูกพี่ลูกน้องของชั้น 300 เมตร"

เจ้าพ่อ : มันบอกว่างัย


ทนายความ: มันบอก ว่า ปืนของท่านมันโบราณ ขึ้นสนิม ยิงยังไงก็ไม่ออก ถึงออกก็ไม่ทำให้ถึงตาย ที่สำคัญมันบอกว่าท่านใจไม่ถึง

วิธีปราบยาบ้า
  เด็ก 2 คนติดคุกด้วยข้อหาเสพยาบ้าในโรงเรียน
ในวันพิจารณาโทษศาลวินิจฉัยว่าเด็กทั้งสองนั้นยังเด็กอยู่มาก
 และเพิ่งกระทำผิดป็นครั้งแรก แถมยังหน้าตาดี

“ศาลขอสั่งให้เธอทั้ง สองไปทำความดีในวันหยุดนี้เป็นการไถ่โทษ
เนื่องจากศาลเห็นว่าเธอทั้ง 2 น่าจะมีอนาคตที่ดี
ศาลขอสั่งให้เธอไปชักชวนคนที่ติดยาบ้าจงเลิกเสพเลิกขายไปตลอดชีวิต
ได้ความว่าอย่างไร ให้กลับมารายงานตัวในวันจันทร์นี้ด้วย”

…..ในวันจันทร์
“ตกลงว่าเธอทั้งสองได้ไปทำอะไรบ้างตามคำสั่งศาล
เอ้า จำเลยคนแรกมารายงานต่อศาล”
“เอ่อ..กระผมได้ไปเกลี้ยกล่อมคนติดยาบ้า 15 คน
ไห้เลิกเสพตลอดชีวิตเลยครับใต้เท้า”

“โอ้..amazing มาก แล้วเธอทำอย่างไรล่ะ เล่าให้ศาลฟังซิ”

” กระผมใช้แผนภาพครับผม” แล้วก็วาดวงกลมสองวง ใหญ่วง
 และวงเล็กๆอีก 1 วง (ชี้ไปที่วงกลมใหญ่ก่อน)
“กระผมบอกว่า นี่เป็นขนาดสมองของพวกคุณก่อนเสพยาบ้า
และนี่เป็นขนาดสมองของคุณหลังจากที่เสพยาบ้าแล้ว”

(ศาลตบมือด้วยความชื่นชม)
“ดีมาก เอ้าแล้วจำเลยคนที่สองล่ะ เธอไปทำอะไรมาบ้างล่ะ”

“เอ่อ กระผมได้ไปชักชวนคนที่เสพยาบ้า 150 คน
ให้เลิกเสพไปตลอดชีวิตเลยครับผม”

(เสียงฮือฮาในศาล)….”โอ้ว…ศาลแปลกใจมาก
 เธอไปทำวิธีไหนล่ะ ถึงเกลี้ยกล่อมคนได้ตั้ง 150 คน”

” เอ่อ กระผมใช้วิธีคล้ายกันนี่แหละครับ”
(ชี้ไปที่วงกลมเล็กๆ) “ผมพูดว่า
นี่คือขนาดของรูตูดของคุณก่อนที่จะโดนจับเข้าคุก
 และนี่ขนาดของรูตูดเมื่อเข้าคุกไปแค่วันเดียว”

ยกฟ้อง!!!

ในการตัดสินคดีข่มขืน จำเลยเป็นชายอายุ 23 ปี ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนหญิงสาววัย 20 ปี
ศาล : เหตุการณ์เป็นอย่างไร
โจทก์ : เขาพยายามจะข่มขืนดิฉัน ดิฉันจึงวิ่งหนีเข้าไปในห้อง แต่ก็ถูกเขาผลักอัดเข้ากำแพง แล้วก็... ฮือๆ
ศาล : จำเลยสูงเท่าไหร่
จำเลย : 185 เซ็นติเมตร ครับ
ศาล : แล้วจำเลยข่มขืนโจทก์ด้วยวิธีใด
จำเลย : ผมอัดเขาเข้ากำแพง แล้วผมก็... แต่ผม.. ผมไม่ผิดนะครับ!!
ศาล : เอาล่ะ แล้วโจทก์ล่ะสูงเท่าไหร่
โจทก์ : 153 เซ็นติเมตรค่ะ
ศาล : ศาลขอยกฟ้อง เพราะข้อหาไม่มีเหตุผลเพียงพอ
โจทก์ : ได้ยังไงกัน!!! ดิฉันไม่ยอมๆ
ศาล : นี่คุณ!! คนที่สูง 185 ซม. กับ 153 ซม. ข่มขืนกระทำชำเราทางเพศขณะยืนไม่ได้หรอก
โจทก์ : ทำไมจะไม่ได้!! ก็ฉันเขย่ง
ทุกคน : ...........
ศาล : ยกฟ้อง!!!

มือไหน

หญิงสาวผู้หนึ่งถูกข่มขืนจึงไปเเจ้งความ
ตำรวจ : ไหนเล่าสิมันเป็นยังไง
หญิงสาว : ก็มือหนึ่งมันจับล็อกคออีฉัน อีก
มือหนึ่งมันล็อกมืออีฉัน เเล้วมันก็ถกกระโปรงอีฉัน
ตำรวจ : เล่ารายละเอียดสิ
หญิงสาว : มือซ้ายล็อกคอ มือขวาล็อกมือ
ตำรวจ : เเล้วมือไหนถกกระโปรง
หญิงสาว : มืออีฉันเองค่ะ
ตำรวจ : ?????

      คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นจริงในศาลที่มีคดีความผุดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน อ่านไปขำไป ไม่รู้พูดออกมาได้อย่างไร

    ถาม: คุณเกิดวันไหน
    ตอบ: 15 กรกฎาคม
    ถาม: ปีไหน
    ตอบ: ทุกปีน่ะแหละ

    ถาม: ลูกชายคุณอายุเท่าไร คนที่ยังอยู่กับคุณที่บ้านน่ะ
    ตอบ: 38 หรือ 35 นี่แหละ ฉันไม่แน่ใจ
    ถาม: แล้วเขาอยู่ที่บ้านกับคุณมานานแค่ไหนแล้ว
    ตอบ: 45 ปีแล้ว

    ถาม: สามีคุณพูดอะไรเป็นอย่างแรก เมื่อเขาตื่นขึ้นมาตอนเช้า
    ตอบ: เขาพูดว่า “ผมอยู่ที่ไหนเนี่ย แคธี่”
    ถาม: แล้วทำไมคุณถึงเสียใจ
    ตอบ: ก็ฉันชื่อซูซานนี่นา

    ถาม: อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหนครับ
    ตอบ: ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 499
    ถาม: แล้วไอ้หลักกิโลเมตรที่ว่าอยู่ตรงไหนครับ
    ตอบ: คงจะระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 498 กับ 500 มั้ง

    ถาม: พลทหาร ตอนที่คุณหยุดรถจำเลย คุณเปิดไฟกะพริบสีแดง สีน้ำเงินไว้ด้วยหรือเปล่า
    ตอบ: เปิดครับ
    ถาม: แล้วจำเลยพูดอะไรหรือเปล่าตอนที่ลงจากรถ
    ตอบ: พูดครับ
    ถาม: เธอพูดว่าอะไร
    ตอบ: ฉันอยู่ที่ดิสโก้ไหนเนี่ย

ขำขันทนายความ

พยานตัวแสบ
ทนายจอมขู่ ซักค้านพยานอย่างไม่ไว้หน้า ขณะกำลังพิจารณาว่าความกันในศาลอยู่นั้น เขาได้ถามพยานขึ้นมาว่า...
"คุณอยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดเหตุเท่าไหร่ ?"
"ห้าเมตรกับแปดสิบเซนติเมตร" พยานตอบ
"ทำไมถึงรู้ระยะทางแน่นอนขนาดนั้น" ทนายกรรโชกต่อ
"ผมรู้ว่าต้องมีไอ้งั่งที่ไหนสักคนถามคำถามนี้ ผมก็เลยวัดมันมา"

 

Software เจ้าปัญหา

ขณะนี้มีโปรแกรมใหม่ออกวางตลาด มีหลายคนทดลองใช้แล้วประสบปัญหามากมาย หลายปัญหา
ไม่สามารถหาวิธีการแก้ไขได้จากในคู่มือ โปรแกรมดังกล่าวคือโปรแกรมชุด 'ภรรยา 1.0'
จึงขอประกาศมาให้ ท่านที่อยากใช้ชุดโปรแกรมดังกล่าวทราบโดยทั่วกัน ดังนี้

1. ในขณะติดตั้ง 'ภรรยา 1.0' โปรแกรมจะติดตั้งปลั๊กอินจำนวนมากให้โดยอัตโนมัติโดยไม่มีสิทธิ์ เลือก คือ 'พ่อตา 1.0', 'แม่ยาย 1.0', 'น้องเขย 1.0' เป็นต้น ปลั๊กอินเหล่านี้ทำให้ทรัพยากรของระบบ สิ้นเปลืองมากและเป็นปลั๊กอินที่ไม่มีใครต้องการใช้งาน จะมีปลั๊กอินที่น่าสนใจเพียงตัวก็คือ 'น้องเมีย beta version' เพราะดูหน้าตาน่าใช้งานไม่เบา

2. หลังจากใช้โปรแกรม 'ภรรยา 1.0' ได้ไม่นาน โปรแกรม 'ภรรยา 1.0' ก็จะสร้างโปรแกรมลูก ขึ้นมาอีกจำนวนมาก โปรแกรมลูกเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่ยังไม่ผ่านการทดสอบเราไม่สามารถ uninstall ได้ ทำได้แค่เพียงคอยจับตาดูว่าโปรแกรมจะรบกวนโปรแกรมอื่นๆ อย่างไรบ้าง

3. หลังจากสร้างโปรแกรมลูกขึ้นแล้วโปรแกรม 'ภรรยา 1.0' ก็จะเปลี่ยนแปลงไป มีการทำงานที่ ประหลาดผิดปกติ บางทีก็หยุดการทำงานไปเฉยๆ ที่สำคัญสีสันหน้าตาของโปรแกรมจะหม่นหมองลง ไม่น่าดูเหมือนตอนลงโปรแกรมใหม่ๆ ยิ่งมีโปรแกรมลูกมากเท่าไหร่ยิ่งน่าเกลียดมากขึ้นจนไม่อยากเปิด โปรแกรมใช้งาน

4. มีอาการแทรกซ้อนคือ 'ภรรยา 1.0' จะเริ่มทำงานเองทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมอื่นประเภท 'โปกเกอร์ 10.3', 'เบียร์การ์เด้น 2.5', และ 'ผับ 7.0'

5. Bug ที่ร้ายแรงที่สุดของ 'ภรรยา 1.0' คือ โปรแกรมนี้ใช้งานไม่ได้กับโปรแกรม 'เมียน้อย' ทุกรุ่น ทดลองได้เพียงแค่หยิบแผ่นซีดี 'เมียน้อย pre-release' มาใกล้เครื่องเท่านั้น เครื่องจะแสดงอาการรวนขนาดควันขึ้นที่ power supply เลยทีเดียว ถ้ายังฝืน Install 'เมียน้อย' ลงไป 'ภรรยา 1.0' จะทำการ ลบข้อมูลการเงินทั้งหมดทันที และโปรแกรมจะต่อ Internet และ Upgrade ตัวเองเป็น 'เมียหลวง 1.0' โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะไม่สามารถควบคุมการทำงานของโปรแกรมได้อีกต่อไป

สำหรับท่านที่คิดจะใช้งาน 'ภรรยา 1.0' ทางที่ดีควรจะรอใช้
'ภรรยา 2.0' จะดีกว่า ได้ข่าวว่า จะมีการปรับปรุงหลายอย่าง คือ
-มี option 'ไม่ต้องเตือนอีก'
-มีปุ่มสำหรับย่อหน้าต่างได้
-สามารถ Uninstall โปรแกรมออกได้โดยไม่ทิ้งร่องรอยและไม่สูญเสียทรัพยากร
-ไดรเวอร์สำหรับเน็ตเวิร์คที่มากขึ้น เพื่อให้โปรแกรมตรวจสอบเครือข่ายสามารถตรวจสอบ ฮาร์ดแวร์ได้ดีขึ้น
-ถ้าจะให้ดีควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถกำหนดรูปแบบของโปรแกรมได้ตามใจเรา
เมื่อเริ่ม Install ก่อนจะเลือกซื้อโปรแกรม เพราะโปรแกรมนี้ไม่มี Technical support

ระหว่างรอโปรแกรม 'ภรรยา 2.0' ขอให้ท่านใช้ 'เพื่อนสาว 2.0' ต่อไปก่อน แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น
1. สามารถติดตั้ง 'เพื่อนสาว' ลงในระบบได้เพียง Version เดียว อย่าได้พยายามติดตั้ง 'เพื่อนสาว 1.0' ร่วมกับ 'เพื่อนสาว 2.0' เป็นอันขาดเพราะทั้งสองโปรแกรมใช้ I/O Port เดียวกัน
2. ต้องเข้าใจว่า 'เพื่อนสาว' ทุกรุ่นเป็น Share ware ระหว่างการใช้งานจะมีข้อความเตือน ให้ชำระเงินเพื่ออัพเกรดไปเป็น 'ภรรยา 1.0' อยู่เสมอ โดยเฉพาะหลังจากการทดลองใช้งานเกิน 6 เดือน หรือหลังจากที่คุณได้ละเมิดลิขสิทธิ์ดูกลไกการทำงานของโปรแกรมไปแล้ว

คุณยายตัวแสบ
หญิงชรานางหนึ่งถือถุงใบเขื่องเดินเข้าไปในธนาคาร
และกล่าวกับพนักงานที่เคาน์เตอร์
ว่าต้องการฝากเงินสามล้านบาท
แต่ขอคุยกับผู้จัดการโดยตรง
พนักงานเห็นว่าหญิงชรามีเงินจำนวนมาก
เลยพาไปห้องผู้จัดการ เมื่อไปถึง

ผู้จัดการเกิดความสงสัยว่าหญิงชราไปเอาเงินมาจากไหนเลยถามขึ้นว่า
ผู้จัดการ - คุณยายเอาเงินมาจากไหนมากมายครับ?
คุณยาย - ยายชนะพนันมาจ้ะ
ผู้จัดการ - ยายไปพนันอะไรมาเหรอครับ?
คุณยาย - ก็ไม่มีอะไรมากหรอกพ่อหนุ่ม....อยากรู้ใช่ไหม?
เรามาลองพนันกันก็ได้สักแสนนึง เอาไหมล่ะ?

ว่าก่อนเก้าโมงเช้าวันพรุ่งนี้ไข่ของพ่อหนุ่มจะกลายเป็นสี่เหลี่ยม
ผู้จัดการ - ฮ่าฮ่าฮ้า ล้อเล่นน่าครับ
จะพนันกันจริงๆเหรอ?
คุณยาย - จริงๆซิ
ยายมีเงินไม่เห็นเหรอนี่ไงตั้งสามล้าน
คุณยายเปิดถุงเงินให้ผู้จัดการดู

ผู้จัดการเห็นว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่ไข่ของตนจะกลายเป็นสี่เหลี่ยม
เลยตอบตกลงรับคำท้า
และนัดแนะกันว่าพรุ่งนี้เช้าเก้าโมงจะมาพบกันอีกที

ตลอดวันนั้นผู้จัดการไม่เป็นอันทำงานเฝ้าแต่คอยคลำไข่ตัวเองว่ายังกลมๆรีๆ อยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า

รุ่งเช้าตื่นขึ้นมาผู้จัดการก็ไม่ลืมที่จะตรวจสอบลูกน้อยทั้งสองใบว่ายังกลมอยู่

เหมือนเดิมจริงๆ เมื่อคลำดูแล้วก็ยังกลมๆดีอยู่
ผู้จัดการเลยรู้สึกกระหยิ่มใจว่าวันนี้รวยแน่
เวลาเก้าโมงตรงหญิงชรามาที่ธนาคาร
และตรงไปที่ห้องผู้จัดการทันทีพร้อมกับชายอีกคน
ผู้จัดการ - สวัสดีครับคุณยาย
อ้าว...พาใครมาด้วยละนี่?
คุณยาย - อ๋อ…ทนายน่ะ
ยายเห็นเงินพนันมันมากเลยพาทนายมาด้วย
ผู้จัดการ - ฮุฮุ…คุณยายผมเสียใจด้วยนะคุณยายแพ้พนันผมแล้วหละไข่ผมยังกลมอยู่เลย นี่ไง
ว่าแล้วผู้จัดการก็จัดแจงปลดกางเกงลง และเรียกให้หญิงชรามาตรวจสอบน้องชายได้

หญิงชราจึงเดินเข้าไปแล้วก็ลูบๆคลำๆไข่ผู้จัดการอยู่สักพักแล้วพูดขึ้นว่า
คุณยาย - อืมมมม ยังกลมอยู่จริงๆ ยายยอมแพ้แล้ว
ขณะที่คุณยายกำลังคลำไข่ผู้จัดการอยู่นั้น...
ผู้จัดการเหลือบไปเห็นทนายที่มากับ
หญิงชรากำลังเอาหัวโขกกำแพงอย่างแรงติดๆ
กันหลายครั้ง เลยถามคุณยายว่า
ผู้จัดการ - ยายๆ ทนายของยายเขาเป็นอะไรเหรอ?
คุณยายตอบว่า - อ๋อ… เขาแพ้พนันยายน่ะ
ยายบอกเขาว่า ภายในเที่ยงวันนี้ยายจะได้คลำไข่ผู้จัดการแบ็งค์ใน office
ของผู้จัดการเองเลย ทนายเขาไม่เชื่อ เราเลยพนันกันสองแสน อิอิอิ 


13 ความหมาย
1. เจ้านาย
ใครบางคนที่ชอบมาทำงานเช้าในวันที่คุณเข้างานสาย และก็มาซะสายในวันที่คุณมาเช้า

2. อาชญากร
ก็เหมือนคนเราๆท่านๆนี่แหละ เพียงแต่ถูกจับได้

3. นักการฑูต
คนที่บอกให้คุณไปลงนรกได้ด้วยวิธีพูดที่ทำให้คุณอยากไปแทบจะรอไม่ไหว

4. หมอ
คนที่ช่วยชีวิตคุณด้วยยาและฆ่าคุณทีหลังด้วยบิลค่ารักษา

5. ทนายความ
คนที่ยื่นมือเข้าช่วยคนทำผิดกฎหมาย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

6. นักโฆษณา
คนที่รู้จักเลือกพูดแต่ความจริง เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เฉพาะครึ่งที่ดี

7. นักร้องวัยรุ่น
เด็กหนุ่มสาวที่มีหน้าตาเป็นอาวุธ และเครื่องแต่งเสียง กับ sound engineer เป็นเพื่อนตาย

8. พ่อค้า - แม่ค้า
คนที่อดีตเคยเป็นข้างต้นที่กล่าวมา แล้วโดนเลย์ออฟเพราะเศรษฐกิจ

9. หมอดูลายมือ
คนแปลกหน้าที่สามารถจับมือแฟนคุณได้ต่หน้าต่อตา โดยไม่โดน...

10. ข่าวลือ
ข้อมูลที่เดินทางได้รวดเร็วเท่ากับความไวของเสียง

11. ประสบการณ์
ชื่อที่มนุษย์ตั้งให้กับความผิดพลาดที่ทำในอดีต

12. น้ำตา
พลังงานน้ำที่ทำให้เพศชายต้องพ่ายแพ้ต่อพลังเพศหญิง

13. หาว
จังหวะเดียวในชีวิตที่ผู้ชายที่แต่งงานแล้วบางคน มีโอกาสได้อ้าปาก


เกิดเป็นทนายแสนลำบาก
มีแฟนหลายคน - เจ้าชู้
มีแฟนคนเดียว - กลัวแฟนล่ะซิ
ไม่มีแฟน - เกย์

เห็นผู้หญิงแล้วเดินเข้าไปจีบ - หน้าหม้อ
เห็นผู้หญิงแล้วมองตาม - มัวแต่มองจะได้กินมั้ย
เห็นผู้หญิงแล้วเฉยๆ - เกย์

มีแฟนแก่กว่า - กะเกาะเค้ากินล่ะสิ
มีแฟนอ่อนกว่า - หลอกเด็ก
มีแฟนอายุเท่ากัน - แม้แต่เพื่อนยังไม่เว้นเลย คิดดูๆ

มีแฟนแล้ว ตกเย็นไปกินข้าวกับแฟน - มันเห็นแฟนดีกว่าเพื่อน
มีแฟนแล้ว ตกเย็นไปกินข้าวกับเพื่อน - มันเห็นเพื่อนดีกว่าแฟน
มีแฟนแล้ว ตกเย็นกลับบ้านคนเดียว - มีชู้

ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทผู้หญิง - คิดนอกใจ
ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทผู้ชาย - เกย์
ชอบนัดเจอกับเพื่อนสนิทชายหญิง - ... หมู่

ขอจูงมือแฟนตอนกลางวัน - ไม่เอานะอายเค้า
ขอจูงมือแฟนตอนเย็นๆ - ยังไม่ค่อยมืดเลยนะคะ ไว้ก่อนนะ
ขอจูงมือแฟนตอนกลางคืน - เดี๋ยวมันต้องไปมีอะไรกันแน่ๆ

เดินนำแฟนเข้าห้าง - รู้จัก Lady first มั้ย??
เดินเข้าห้างให้แฟนเดินเข้าก่อน - มันปล่อยให้แฟนมันเปิดประตูให้
เดินเข้าห้างเปิดประตูแล้วให้แฟนเดินเข้าไปก่อน - โคดเว่อร์เลยว่ะ

เป็นหัวหน้าครอบครัว - เผด็จการ
มีอะไรต้องปรึกษาแฟน - ไม่กล้าตัดสินใจ
ให้แฟนเป็นหัวหน้าครอบครัว - กลัวเมีย

แฟนไม่สวย - หาได้แค่เนี้ยเรอะ
แฟนหน้าธรรมดาๆ - ก็งั้นๆ แหละว้า
แฟนสวย - ไม่สมกันเล้ย

ผู้ชายนิสัยธรรมดา - น่าเบื่อ
ผู้ชายนิสัยเลว - เลวว่ะ
ผู้ชายนิสัยดี - เธอดีเกินไป

เสียรูปคดี
ณ ศาลจังหวัดแห่งหนึ่ง...

เรื่องมีอยู่ว่า ลุงมี อายุอานามก็เกือบ 70 แล้ว

เกิดไปปล้ำเด็กสาวคราวลูกเข้า ...

ก็เลยโดนรวบเข้ากรง ลุงมีจึงจ้างทนายสาว

ฝีมือฉกาจขึ้นว่าความให้ลุง

ผู้พิพากษา : คุณทนายมีอะไรจะแก้ต่างให้ลุงมี หรือไม่

ทนายสาว : ข้าแต่ศาลที่เคารพ ดิฉันอยากจะชี้ประเด็นให้เห็นว่า ลุงมีแกแก่มากแล้ว

ไม่สามารถที่จะทำอย่างที่ทางตำรวจแจ้งข้อหาได้ ค่ะ

ผู้พิพากษา : ทนายมีอะไรมาพิสูจน์ว่าลุงไม่มีความสามารถจะข่มขืนจำเลยได้

ทนายสาวจึงบอกให้ลุงรูดซิป แล้วทนายสาวก็ล้วง ออกมาเขย่าให้ทุกคนดู

ทนายสาว : ข้าแต่ศาลที่เคารพ เหี่ยวๆ ห้อยๆ อย่างนี้ จะมีปัญญาอะไรไปทำอย่างว่าได้ค่ะ

ทนายสาวเขย่าอยู่นานจน ลุงมีคว้ามือทนายสาวให้หยุด แล้วกระซิบข้างหูว่า

ลุงมี : ทนาย ๆ หยุดเขย่าเถอะ เดี่ยวจะเสียรูปคดี.


ยอดพยาน
การสู้ความในคดีขับรถชนคนตาย ทนายจำเลยซักค้าน ทันตแพทย์ที่เห็นเหตุการณ์อย่างดุเดือด

ทนายจำเลย : : ก่อนที่จะสรุปว่าเขาเสียชีวิตหมอได้จับชีพจรเขาหรือไม่

ทันตแพทย์ :: ไม่

ทนายจำเลย :: คุณเป็นทันตแพทย์ คุณไม่ได้เรียนวิธีตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใช่หรือไม่

ทันตแพทย์ :: ใช่

ทนายจำเลย :: คลื่นสมองก็ไม่ได้ตรวจใช่หรือไม่

ทันตแพทย์:: ใช่

ทนายจำเลย :: การหายใจ

ทันตแพทย์ :: ไม่ได้ตรวจ

ทนายจำเลย :: แล้วม่านตาล่ะ

ทันตแพทย์ :: ม่านตาก็ไม่ได้ตรวจ

ทนายจำเลย :: แสดงว่าหมอเดาเอาเองว่าเขาตาย ใช่ไหม?

ทันตแพทย์ : :จะว่าเดาก็ได้ เพราะผมเห็น กะโหลกศีรษะของเขาแยกจากกัน ในกะโหลกไม่มีเนื้อสมองเหลืออยู่เลย ศีรษะกลวงโบ๋

ทนาย จำเลย :: หมอจึงสรุปว่าเขาถูกรถชนตาย ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ตรวจชีพจรเลยเหรอ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันสักอย่าง หมอสรุปอย่างนี้ได้ยังไง แบบนี้ลูกความผมก็เสียหายสิ

ทันตแพทย์ :: เฮ้อ...บางทีเขาอาจจะรอด ไปประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วก็ได้


สปาเกตตี
ทนายหนุ่มนายหนึ่งมีเรื่องชู้สาวกับเลขาส่วนตัวของเขา
หลังจากนั้นไม่นาน หล่อนก็บอกกับเขาว่าเธอท้อง
แต่ทนายหนุ่มไม่ต้องการให้ภรรยาของเขาทราบ
จึงให้เงินก้อนหนึ่งกับเลขาเพื่อให้หล่อนไปคลอดลูกและพักอาศัยที่อิตาลีสักระยะหนึ่ง

เลขาสาว    : แต่ฉันจะบอกให้คุณทราบได้อย่างไรว่า ลูกของเราคลอดแล้ว? หล่อนถาม
ทนายหนุ่ม : งั้นส่งไปรษณียบัตรแล้วเขียนด้านหลังว่า สปาเก็ตตี แล้วผมจะเป็นคนรับผิดชอบ
                    ค่าเลี้ยงดูลูกของเราเอง
เลขาสาวไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงรับเงินก้อนนั้นไปแล้วบินไปอยู่ที่อิตาลี
หลังจากนั้น 6 เดือน วันหนึ่งภรรยาของทนายหนุ่มได้โทรศัพท์ไปถามทนายหนุ่ม

ภรรยา : ที่รัก มีไปรษณียบัตรประหลาดจากยุโรปส่งมาถึงคุณวันนี้ แต่ฉันไม่เข้าใจความหมายของ
              ข้อความนั้นเลย
ทนายหนุ่ม : งั้นรอให้ผมกลับถึงบ้านเสียก่อน แล้วจะอธิบายให้เข้าใจ

และในตอนเย็นวันนั้นเอง ทนายหนุ่มกลับถึงบ้าน อ่านข้อความในไปรษณียบัตร แล้วล้มลงกับพื้นด้วยอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลัน
เขาถูกเขนเข้าห้องฉุกเฉิน หมอประจำห้องฯ กลับออกมาจากห้องเพื่อปลอบใจภรรยาทนายหนุ่ม

หมอ   : ไม่ทราบว่า อะไรเป็นสาเหตุให้หัวใจกำเริบครับ?
ภรรยา : (หยิบไปรษณียบัตรให้หมอดู แล้วอ่านด้วยเสียงอันดัง) สปาเก็ตตี สปาเก็ตตี สปาเก็ตตี
             สปาเก็ตตี สองจานมีลูกชิ้น อีกสองจานไม่มีลูกชิ้น...

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

ประสบการณ์สอบตั๋วปี

จากติ

ฎีกาปี ๒๕๕๒

ปพพ.
๐อายุความ
 ๑๙๓/๓๓(๕) มีอายุความ ๕ ปี - ฟ้องว่า จำเลยซื้อปุ๋ยและสารเคมีไปใส่สวนส้มจำนวน ๗๗๐๐๐ บาท  จำเลยรับว่า มีอาชีพทำสวนและรับว่า ซื้อสินค้าจากโจทก์จริง  แสดงว่า ไม่ใช่เพื่อการอุปโภคบริโภคในครอบครัว แต่เป็นการแสวงหากำไรมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง มีอายุความ ๕ ปี ตาม ม.๑๙๓/๓๓ (๕) (๒๙๓๘/๕๒)
๐ละเมิด
๔๔๖ วรรคหนึ่ง  เป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน -เสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากเสียตาข้างซ้าย ทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติ (๕๓๓/๕๒)
๐เหตุฟ้องหย่า
๑๕๑๖ -เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง - ใช้อาวุธปืนยิง แม้จะไม่มีเจตนาฆ่าหรือทำไปด้วยความหึงหวงหรือโกรธเคือง (๒๕๐๔/๕๒)

ปอ.
๐หลายกรรม
เป็นความผิดหลายกรรม - ลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับ ปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น (๘๒๑/๕๒)
๐ยาเสพติด
รับสารภาพว่า กระทำความผิดตามฟ้อง - จะโต้เถียงว่า รถยนต์กระบะมิใช่ยานพาหนะในการกระทำความผิดไม่ได้ (๖๒๖๑/๕๑)

ปวิอ.
๐ ๑๙๒ ว. ๓ - ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้อง ศาลยกฟ้อง - ฟ้องว่า ข่มขืนเมื่อวันที่ ๖ ธค.๔๑-๒๐ ธค.๔๑ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ ๔ - ๖ มกราคม ๔๒ จำเลยนำสืบต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ (๒๓๓/๕๒)

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบตั๋วทนาย ปรนัย -ภาคปฏิบัติ

ข้อ ๑.

ข้อสอบตั๋วทนาย ปรนัย -ภาคทฤษฎี

ข้อ ๑.

ผู้จัดการมรดก -ยักยอกทรัพย์

หลักกฎหมายและ ฎีกา
ผู้จัดการมรดก ยักยอกทรัพย์

๐ความหมายและการตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการ มรดก คือ ตัวแทนของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทตามสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

ผู้มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย

๐ การตั้งผู้จัดการมรดก อาจตั้งโดยกำหนดไว้ในพินัยกรรม หรือเจ้ามรดกตั้งไว้ก่อนตาย หรือตั้งโดยคำสั่งศาล   การตั้งผู้จัดการมรดก โดยคำสั่งศาลนั้น มีได้ในกรณี ดังนี้ 1.เจ้ามรดกไม่ได้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก  2.ผู้จัดการมรดกลาออก  3.ผู้จัดการมรดกตาย  4.ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดก

การ ขอตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก ต้องอาศัยคำสั่งศาลเท่านั้น โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำหน้าที่ของตนเอง เช่น การทำบัญชีทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่ศาลมีคำสั่ง

ปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับผู้จัดการมรดก มีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ที่เด่นๆ
มักเกิดจากทายาทด้วยกัน
แย่งกันเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
การฟ้องถอดถอนผู้จัดการมรดก
คัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก
ไม่ยินยอมให้ศาลตั้งคนนี้เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดก
ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก
ตอนร้องขอจัดการมรดกแจ้งว่ามีทายาทไม่ครบตามความเป็นจริง
ฮุบมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดกโดยร้องขอให้จัดการเฉพาะส่วน
หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  สิทธิ และหน้าที่ของผู้จัดการมรดกย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกซึ่งได้บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบและ การเพิกถอนผู้จัดการมรดก  ตลอดถึงการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน  และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก  นอกจากนี้ได้บัญญัติถึงกรณีมรดกที่ไม่มีผู้รับและอายุความมรดก  เพราะผู้จัดการมรดกถือเป็นตัวแทนของทายาททุกคนในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดก   ทั้งจัดแบ่งทรัพย์มรดกและมอบทรัพย์มรดกแก่ทายาท  โดยต้องชำระหนี้กองมรดกก่อน(ถ้ามี)  มิใช่ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว  ผู้จัดการ มรดกจะทำได้ตามอำเภอในตนเองโดยโอนทรัพย์สินเป็นของตนเองโดยลำพังและไม่แจ้ง หรือปรึกษาบรรดาทายาทก่อนทั้งที่กฎหมายกำหนดบทบาทของผู้จัดการมรดกไว้แล้วใน ที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะที่เห็นว่าจำเป็นและควรรู้เท่านั้น  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1.  หน้าที่ผู้จัดการมรดก
1.  หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว (ม.๑๗๑๖)
2.  หน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน  ๑๕  วัน  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก (วันฟังคำสั่งศาลหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว  ตามข้อ ๑) (ม.๑๗๒๘)
3.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน  ๑  เดือน  หากไม่เสร็จภายใน  ๑  เดือน  ผู้จัดการมรดกร้องขอต่อศาลอนุญาตขยายเวลาอีกได้  แต่ต้องขอขยายก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน (ม.๑๗๒๙)
4.  บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีพยาน  ๒  คน  และต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก (ม.๑๗๒๙ วรรค  ๒)
(ข้อสังเกต*  คำว่าบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกหมายถึง  บัญชีทรัพย์ซึ่งผู้จัดการมรดกที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลเป็นผู้ทำ  หา ใช่บัญชีทรัพย์ที่ยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่เพราะขณะทำบัญชี ทรัพย์ถือว่ายังไม่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๒๙๒-๑๒๙๓/๒๕๑๒)
                        - มาตรา    ๑๗๒๘,  ๑๗๒๙  เป็นบทบังคับให้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ใช่บทบังคับให้ทำบัญชีรับและจ่ายทรัพย์มรดก
                        -  บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีรายการแสดงว่าเป็นทรัพย์สิน, สิทธิเรียกร้องอะไรบ้างเงินมูลค่าเท่าใดและแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ว่ามีใครบ้าง   เป็นเงินรวมเท่าใด
5.  ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดหรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล  เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต  หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก  ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้               (ม.๑๗๓๑)
6.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่  และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน  ๑  ปี  นับแต่วันฟังคำสั่งศาล  หรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วเว้นแต่ทายาทโดยจำนวนข้างมาก  หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ม.๑๗๓๒)
7.  ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้ (ม.๑๗๒๑)
8.  ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใด ๆ  ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้  เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล (ม.๑๗๒๒)
9.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง (ม.๑๗๒๓)
10.  ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก  โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด  ๆ  หรือประโยชน์อื่นใด  อันบุคคลภายนอกได้ให้    หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท  เว้นแต่ทายาท   เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย (ม.๑๗๒๔  วรรค ๒)
11.  ผู้จัดการ มรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนด พินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มรส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร       (ม.๑๗๒๕)
12.  ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก (ม.๑๗๓๕)
13.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก (ถ้ามี) เสียก่อน (ม.๑๗๔๔)
size="3" color="black"
size="3" color="black"
size="3" color="black"
2.  ความรับผิดชอบของผู้จัดการมรดก
1.  ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดชอบต่อทายาทในฐานะผู้จัดการและตัวแทนของทายาท (ม.๑๗๒๐) กล่าวคือ
                        1.1  เมื่อทายาทมีความประสงค์จะทราบความเป็นไปของการที่ได้มอบหมายแก่ผู้จัดการมรดกนั้นในเวลาใด ๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ  ผู้จัดการมรดกก็ต้องแจ้งให้ทายาททราบอนึ่ง  เมื่อการเป็นผู้จัดการมรดกนั้นสิ้นสุดลงแล้ว  ผู้จัดการมรดกต้องแถลงบัญชีด้วย (ม.๘๐๙)
                        1.2  เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ผู้จัดการมรดกได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นผู้จัดการการมรดกนั้น   ท่านว่าผู้จัดการมรดก  ต้องส่งให้แก่ทายาทจนสิ้น
                        ­อนึ่ง  สิทธิทั้งหลายที่ผู้จัดการมรดกขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ทำการแทนทายาทนั้น  ผู้จัดการมรดกก็ต้องโอนให้แก่ทายาทจนสิ้น (ม.๘๑๐)
                        1.3  ถ้าผู้จัดการมรดกเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ทายาท  หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจของทายาทนั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย  ผู้จัดการมรดกต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้ (ม.๘๑๑)
                        1.4  ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ   เพราะความประมาทเลินเล่อของผู้จัดการมรดกก็ดี  เพราะไม่ทำการเป็นผู้จัดการมรดกก็ดี  หรือเพราะทำการโดนปราศจากอำนาจ  หรือนอกเหนืออำนาจก็ดี  ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิด        (ม.๘๑๒)
                        1.5  ถ้าผู้จัดการมรดกกระทำอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดีหรือทำนอกเหนืออำนาจก็ดี  ย่อมไม่ผูกพันทายาท  เว้นแต่ทายาทจะให้สัตยาบันแก่การนั้น
                        ถ้า ทายาทไม่ให้สัตยาบันผู้จัดการมรดกย่อมต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง ตนเองเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทำการโดยปราศจาก อำนาจ  หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ (ม.๘๒๓)
2.  เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง  หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอศาลอาจสั่งให้ผู้จัดการมรดก
                        1.  หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาทตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น
                        2.  แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท (ม.๑๗๓๐ ประกอบ ม.๑๕๙๗)
3.  การเพิกถอนผู้จัดการมรดก
                        ผู้ มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะเหตุ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้  แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
                        แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี  ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้  แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล (ม.๑๗๒๗)
4.  ข้อควรระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
                        ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้น  ผู้จัดการมรดกต้องมีจิตสำนึกว่าเป็นการจัดการแทนทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกในกรณีเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  หรือจัดการแทนผู้รับพินัยกรรมในกรณีที่มีการทำพินัยกรรม  มิใช่กระทำเพื่อตัวผู้จัดการมรดกเอง  ผู้ที่เป็นผู้จัดการมรดกได้จึงต้องเป็นผู้เสียสละและมีความซื่อสัตย์สุจริตเพราะถ้ากระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว  เช่น  เบียดบังทรัพย์มรดกเป็นของตนเองแล้งก็จะเป็นการกระทำผิดอาญาข้อหายักยอกทรัพย์มรดก  ซึ่งมีโทษถึงขั้นติดคุกได้
                        กรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก  ซึ่งเป็นการดำเนินการคุ้มครองสิทธิ  เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำร้องแล้ว  หากมีปัญหาในการจัดการมรดก  ผู้จัดการมรดกสามารถขอรับคำปรึกษาจากสำนักงานอัยการได้  เพราะเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องคอยแนะนำช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านกฎหมายอยู่แล้ว

พี่น้อง เกิดมาท้องเดียวกันใช่ว่าจะพูดจากันรู้เรื่อง โดยเฉพาะการแบ่งทรัพย์มรดกที่มีการโอนขายระหว่างทายาท ภายหลังบิดาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม หากผู้จัดการมรดกไม่อธิบายถึงสิทธิของทายาทแต่ละคนให้เป็นที่เข้าใจ ทายาทบางคนอาจฟ้องทั้งผู้จัดการมรดกและฟ้องขอให้มีการเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกของผู้ตายได้
ฟ้องกันไปใช่ว่าจะมองหน้ากันสนิทนัก ไม่ฟ้องรึไม่อาจทำใจได้ว่าสิทธิของลูกทายาทคนหนึ่ง ถูกทายาทบางคนร่วมมือกันยักยอกหรือไม่
พี่น้องครอบครัวนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 คนมีชีวิตทุกคน ครั้นบิดาชื่อนายปัญญา เสียชีวิตลงด้วยวัยชรา ก่อนเกษียณอายุบิดารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ มีทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมบ้านตั้งอยู่ที่เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ มูลค่ารวมกัน 2,000,000 บาท
ปัญญาผู้เป็นสามีเสียชีวิต พ.ศ.2522 จินดาภริยาเสียชีวิต พ.ศ.2535 สามีภริยาคู่นี้ร่วมกันก่อร่างสร้างตัวเลี้ยงลูกถึง 5 คน ภายหลังปัญญาเสียชีวิตมีหนี้สินกับธนาคารเหลือเพียง 200,000 บาท โดยมีที่ดินและบ้านดังกล่าวจดทะเบียนจำนองไว้ ทายาททั้งหลายจึงตกลงใจให้นางจุรีพี่สาวคนโตเป็นผู้จัดการมรดก และนายจรัลชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารและรับซื้อบ้านในราคา 1,800,000 บาท
ภายหลังแม่เสียชีวิตสองปี จรัลขับไล่น้องชายชื่อนายจุรินทร์ออกจากบ้านหลังนั้นที่อยู่ด้วยกันมาดั้งเดิม จุรินทร์ไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินว่าไม่มีชื่อของเขาในโฉนดรวมถึงทายาทคนอื่น จึงได้บอกกล่าวให้ทั้งจุรีและจรัลจดทะเบียนใส่ชื่อทายาททุกคนเป็นผู้รับมรดกของพ่อ แต่ทั้งสองเพิกเฉย
จุรินทร์จึงฟ้องศาล ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกและเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างจุรีและจรัล ให้จุรีในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้โจทก์ตามสิทธิ 1 ใน 5 ส่วน หากไม่สามารถจดทะเบียนแบ่งให้โจทก์ได้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 389,000 บาท
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองได้ทำตามข้อตกลงร่วมกันไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร และขายบ้านให้จรั,จำเลยที่ 2 ในราคา 1,800,000 บาท พ.ศ.2532 และได้แบ่งปันเงินระหว่างทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย ถือว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันจดทะเบียนโอนขายดังกล่าว โจทก์ฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้น จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
ที่สุดศาลฏีกาวินิจฉัยว่า ตามรายการจดทะเบียนหลังสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารที่อ้างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ในนามจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แต่ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้น ที่กระทำเช่นนั้นเพื่อความสะดวกที่จะขายเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกัน
ดังนั้น การจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้ว ในเมื่อโจทก์เบิกความยอมรับว่ายังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาท การจัดการมรดกจึงไม่เสร็จสิ้น ฟ้องไม่ขาดอายุความ
ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบียดบังยักยอกทรัพย์มรดกยังรับฟังไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องซื้อขายทรัพย์มรดกกันตามปกติธรรมดาโดยมีหลักฐานตามเอกสารที่ว่า จำเลยที่ 2 ต้องไปกู้เงินจากองค์การโทรศัพท์ฯ ต้นสังกัดของจำเลยที่ 2 จำนวน 1,800,000 บาท เพื่อนำมาชำระราคาค่าซื้อบ้านและที่ดินพิพาทแล้วนำมาบ้านและที่ดินพิพาทจำนองเจ้าหนี้ไว้เป็นประกัน รวมถึงมีเหตุให้เชื่อตามที่จำเลยทั้งสองเบิกความรับกันว่าจินดาซึ่งเป็นมารดาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวรู้เห็นยินยอมในการซื้อขายโดยตลอด
เมื่อการซื้อขายเป็นไปโดยชอบ ศาลก็ไม่อาจสั่งเพิกถอนได้ และเมื่อทรัพย์มรดกตกไปเป็นของผู้ซื้อแล้ว ก็ไม่เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมด้วยได้ โจทก์คงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง จากเงินค่าขายทรัพย์มรดกจำนวน 360,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้จัดการมรดก ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฏีกาของโจทก์ฟังขึ้นเพียงบางส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 360,000 บาทแก่โจทก์ นอกนั้นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้อมูล: เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 5265/2539

หลักบรรยายฟ้องคดีอาญา

๐บรรยายฟ้องผิด สาระสำคัญแตกต่างกันลงโทษไม่ได้ เช่น
๐ ฟ้องดูหมิ่น / หมิ่นประมาท
+ฟ้องว่า ดูหมิ่น ก. แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ดูหมิ่น ข.
+ไม่ต้องระบุชื่อคนที่สาม
๐ฟ้องลักทรัพย์
+ฟ้องว่า ลักของกลางอย่างหนึ่ง ทางพิจารณาลักคนละอย่าง

ฎ-บรรยายฟ้องคดีอาญา

 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลย เข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่น อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(6) อ้าง มาตรา กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็น ความผิด
(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

207/2528 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นเจ้าพนักงานคือร้อยตำรวจโทธวัชชัย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นสิบตำรวจโทสมศรี มิใช่กล่าวดูหมิ่นร้อยตำรวจโทธวัชชัย จึงถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่ กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

2208/2528  โจทก์ฟ้องว่า มีคนร้ายหลายคนลักยางพาราแผ่น 11 มัดของ จ. ผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองได้ และยึดยางพาราแผ่น 1 มัดของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ดังกล่าวเป็นของกลางทางพิจารณาได้ความว่ายางพาราแผ่น 1 มัดของกลางที่จำเลยทั้งสองลักไป เป็นยางคนละชนิดคนละ จำนวนกับยางพาราแผ่น 11 มัดของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลัก ไป จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์มิได้มุ่งประสงค์ให้ลงโทษ จำเลยทั้งสองฐานลักหรือรับของโจรยางพาราแผ่น 1 มัดของกลางข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวใน ฟ้องและมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาล จะลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักยางพาราแผ่น 1 มัดของกลางมิได้

3086/2515  ค้นไม่พบ (ความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ต้องระบุชื่อบุคคลที่ 3 ฟ้องก็สมบูรณ์ตามมาตรา 158)
1876/2528  ขณะผู้เสียหายนั่งคุยกับ จ. จำเลยที่ 2 ได้เข้าไปขอเงิน 5 บาท ผู้เสียหายพูดว่าไม่มีให้จำเลยที่1 ใช้มีดจี้คอผู้เสียหายและพูดว่า ถ้าไม่ให้เจ็บตัวจ. ส่งเงิน 10 บาท ให้ผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายส่งให้จำเลยที่ 2 รับไป เมื่อได้เงินแล้วจำเลยที่ 2 ได้เดินไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ค้นตัวได้เงินเพียง10 บาทที่ จ.ให้ไปเท่านั้นจ.ตอบคำถามค้านว่าให้เงินแก่จำเลยที่ 2 ด้วยความสมัครใจเต็มใจ เพราะสงสาร ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยสุจริตมิได้มีเจตนา ร่วมกับจำเลยที่ 1 เพื่อทำการชิงทรัพย์ผู้เสียหายมาแต่แรกเมื่อได้เงินตามที่ขอแล้วก็ไม่ขู่เอา ทรัพย์อื่นต่อไปอีกการเอา เงินไปจึงถือไม่ได้ว่า เกิดจากการลักทรัพย์จึงไม่เป็น ความผิดฐานชิงทรัพย์
ส่วนท้ายของคำฟ้อง
(การร่างฟ้องมี 3 ส่วน  ส่วนต้นอนุมาตรา  1-4  ส่วนกลาง 5  ส่วนสุดท้าย 6 7)
คำขอท้ายฟ้อง ตามอนุมาตรา 6 ต้องอ้างมาตราในกฎหมายว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และขอให้ลงโทษ แต่ไม่ต้องระบุอนุมาตรา

ถ้าไม่ได้ระบุมาตรามาในคำขอท้ายฟ้องเลย จะลงโทษจำเลยในความผิดฐานนั้นไม่ได้ ต้องพิพากษายกฟ้อง  ถือว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะลงโทษ ศาลจะลงโทษเกินคำขอท้ายฟ้องไม่ได้

3323/2527  บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงใส่ย. โดยเจตนาฆ่าเพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยกับพวกได้ กระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ฯลฯ แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล แต่โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 มาในคำขอท้ายฟ้อง กรณีมิ ใช่โจทก์อ้างฐานความผิด หรือบทมาตราผิด แต่โจทก์ไม่ได้ อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการ กระทำเช่นนั้นเป็น ความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)มาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ฐานพยายามฆ่าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วย มาตรา 80จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ลงโทษจำเลยสำหรับความผิด ฐานนี้ไม่ได้

การอ้างบทมาตราผิดหรือใกล้เคียงกัน ศาลสามารถลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ใกล้เคียงกันได้

5188/2549  โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและ ได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และมาตรา 390 มิใช่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ที่โจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายที่ลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

การอ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษต้องอ้างชื่อกฎหมายและบทมาตราที่ขอให้ลงโทษด้วย
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์อ้างเฉพาะเลขมาตราอย่างเดียว แต่ไม่อ้างกฎหมาย แต่จากการประมวลคำฟ้องทั้งหมดแล้ว ศาลตีความได้ว่าชอบสมบูรณ์ตามมาตรา 158

1700/2514 หน้าฟ้องลงข้อหาว่า "ปลอมหนังสือ ใช้หนังสือปลอม"คำบรรยายฟ้องก็ชัดเช่นนั้น ส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่าขอให้ลงโทษตามมาตรา 264, 265, 266, 268 โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมายแห่งมาตรานั้น ๆ ว่าเป็นกฎหมายอะไรก็จริงอยู่แต่เมื่อประมวลแล้วทราบได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลง โทษนั้นคือประมวลกฎหมายอาญา ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับมาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย อาญาในหมวดว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเอกสาร คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ขาดตกบกพร่องเพียง แต่มิได้ระบุชื่อของกฎหมาย แต่ก็มีพฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกฎหมายอะไร เช่นนี้ หาเพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญามาตรา 158(6) แต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)
ถ้าฟ้องระบุชื่อกฎหมายแต่ไม่ระบุเลขมาตราให้ลงโทษ แต่ต้องบรรยายให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและจำเลยไม่หลงต่อสู้ จึงครบถ้วน ดูตัวอย่างฏีกา

4335/2544  แม้คำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าเหตุเกิดที่อำเภอ เมืองจังหวัดเชียงใหม่ โดยไม่ได้ระบุตำบลเกิดเหตุให้ชัดเจน ก็ถือว่าคำฟ้องได้บรรยายถึงสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ แล้ว ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และรูปคดีเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลอะไรนั้นจึงเป็นเพียงราย ละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวที่บัญญัติการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆล้วนบัญญัติในเรื่องอื่น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงชื่อกฎหมายไม่ได้ระบุมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัด แจ้งครบถ้วนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ จึงไม่อาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตราอื่นได้อีก มีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว
คำขอท้ายฟ้องต้องอ้างมาตราที่กำหนดความผิดและกำหนดโทษไว้มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย

652/2490 มียาสูบตั้งแต่สองกิโลกรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ มาตรา 36 และ40
โจทก์ฟ้องบรรยายความผิดอันต้องด้วยบทห้ามตามกฎหมายแม้มิได้อ้างบทห้ามมาในฟ้องเป็นแต่อ้างบทกำหนดโทษมาศาลก็ลงโทษได้
โจทก์ กล่าวหาจำเลยรับบางข้อปฏิเสธบางข้อ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษในความผิด ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธแต่มีได้ข้อสืบพยานดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิจารณาเฉพาะตามฟ้องและคำให้การ

1959/2535  โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำชาน คลองเขตคันคลองชลประทานว่า อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 40 จำนวนเนื้อที่ 60 ตารางเมตรตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการบรรยายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการ กระทำผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพ.ศ. 2485 มาตรา 23 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2507 มาตรา 12 ส่วนพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485มาตรา 37 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507มาตรา 17 และพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2518 มาตรา 7 เป็นมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ในฟ้องตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

7653/2547  ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ที่บัญญัติให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด หมายถึง มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด ส่วนมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด แต่บัญญัติว่าความผิดนั้นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและต้องลง โทษตามความผิดฐานหรือบทใด แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มาในฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่เกิดเหตุเป็นถนนเปียกและลื่น จำเลยขับรถยนต์ซึ่งมีสภาพเก่าบรรทุกสัมภาระและคนมาเต็มคันรถยนต์ ควรจะขับรถยนต์ให้ช้าไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะหากขับรถยนต์ด้วยความเร็วในสภาพของรถยนต์และถนนดังกล่าวรถยนต์อาจเสีย หลักและพลิกคว่ำได้โดยง่าย แต่เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็ว จึงเป็นความประมาทในเบื้องต้นของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์อยู่ข้างหน้าซึ่งจำเลยจะต้องแซงรถจักรยานยนต์นั้น จำเลยจะต้องให้สัญญาณเสียงเพื่อให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็ควรจะชะลอความเร็วรถยนต์ลงเพื่อให้ห่างจากรถจักรยานยนต์ใน ระยะที่ปลอดภัย แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เมื่อรถจักรยานยนต์เลี้ยวไปทางขวาโดยกะทันหันจำเลยจึงไม่อาจห้ามล้อเพื่อ ชะลอความเร็วของรถยนต์ได้ทัน และจำต้องบังคับรถยนต์หลบไปทางขวาแล้วหลบกลับมาทางซ้ายอีก จนเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
ถ้าไม่ได้อ้างบทลงโทษหรือฐานความผิดมา โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดได้หรือไม่ ถ้าเป็นฐานความผิดเล็กน้อย แก้ไขฐานความผิดได้ และจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้
หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ศาลสั่งให้จำเลยแก้ไขได้ตามมาตรา 161
การที่ศาลยกฟ้องในการที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตราในการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ จึงถือว่าศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด จะนำมาฟ้องอีกไม่ได้เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 39 อนุมาตรา 4
-----------------------------
มาตรา 158 อนุมาตรา 7  ต้องมีการลงลายมือชื่อ โจทก์ ผู้เรียง ถ้าไม่มีศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ แต่ศาลจำต้องใช้อำนาจตามมาตรา 161 ได้หรือไม่
โจทก์หมายถึง ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ หรือทั้งคู่กรณีเป็นโจทก์ร่วมกัน
พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
ข้อสังเกต-- คนร่างคำฟ้อง และคนลงลายมือชื่อเป็นโจทก์คนละคนก็ได้เพราะเป็นเจ้าพนักงานของสำนักงานอัยการ

1838/2492  พนักงานอัยการผู้ได้รับแต่งตั้งโดยชอบแล้วมีอำนาจลง ชื่อเป็นโจทก์ในฟ้องในฐานพนักงานอัยการได้ แม้ผู้ลงชื่อจะต่างคนกับที่วงเล็บไว้ที่หน้าฟ้องก็ไม่สำคัญ
ฟ้องว่าจำเลยสมคบกันทำร้ายร่างกาย ไม่จำต้องระบุว่าจำเลยคนใดใช้อาวุธอย่างไร ทำร้ายแผลไหน
------------------
ตามมาตรา 158 อนุมาตรา 7 โจทก์หรือผู้เสียหายต้องลงลายมือชื่อเอง เคร่งครัดเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น แต่คำฟ้องอุทธรณ์ ฏีกา เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญาโดยอนุโลมตามมาตรา 15 จึงต้องมีลายมือชื่อผู้ยื่นอุทธรณ์ ฏีกาด้วย

5887/2550  ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ.

ทนายความลงลายมือชื่อแทนจำเลยกรณีตัวความมอบอำนาจให้อุทธรณ์ ฏีกา ก็มีอำนาจลงชื่อแทนผู้อุทธรณ์ ฏีกาได้ ตามปวิแพ่งมาตรา 62 ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15

1243/2492  คดีอาญา ทนายโจทก์ลงชื่อในอุทธรณ์แทนโจทก์ ก็ใช้ได้ตามกฎหมาย เพราะใบแต่งทนายความของโจทก์ได้ให้อำนาจทนายโจทก์ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือ ฎีกาด้วย

5858/2548 คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกา คดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (แต่งทนายความแต่ไม่ได้มอบอำนาจฏีกา คำฟ้องของจำเลยจึงไม่ชอบ)

ทนายความลงชื่อแทนโจทก์ไม่ได้ ยกเว้นกรณีอุทธรณ์ ฏีกา และ กรณีเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

629/2501  ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการแทนตัวความได้

890/2503  ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาย่อม มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้วผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158ข้อ(7)

229/2490  ฟ้องไม่ลงลายมือชื่อโจทก์และผู้เรียง ถือว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วศาลสูงก็มีทางทำได้ทางเดียว คือยกฟ้อง

282/2544 จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อผู้เรียงอุทธรณ์ฟ้องอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) แต่การที่จะให้จำเลยแก้ไขหรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ล่วงเลยเวลาที่จะ ปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้เสร็จไปแล้วการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีนี้มาจึงไม่ชอบ

3/2492  (ถูกกลับแล้วโดยมติที่ประชุมการออกข้อสอบผู้ช่วยสนามเล็กคราวที่แล้ว)ฟ้องที่มิได้ลงชื่อโจทก์นั้นเป็นฟ้องไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)
ศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องที่ไม่ถูกต้องไว้ และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปแล้ว คงเหลือแต่พนักงานสอบสวนอีกปากเดียว ความจึงปรากฏจากคำร้องของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้องดังนี้จึงมีวิธี ที่ศาลจะปฏิบัติตามมาตรา 161 ได้อีกทางเดียวคือให้ยกฟ้องเสีย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/92)

ข้อสอบผู้ช่วยสนามเล็กคราวที่แล้ว เรื่องศาลสั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้แล้ว ให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องก่อนสืบพยานโจทก์ได้หรือไม่ เนื่องจากกฎหมายไม่มีกำหนดเวลาในการสั่งให้แก้ฟ้อง ศาลสั่งให้แก้ฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ (มติที่ประชุมการสอบผู้ช่วยสนามเล็ก)

6685/2550 จำเลยยื่นฟ้องอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ทำความผิดตามฟ้องแล้วลงชื่อผู้อุทธรณ์ และผู้เขียนหรือพิมพ์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้เรียงฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฟ้องอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้อง เสียก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161

1564/2546  ฟ้องโจทก์ปรากฏแต่ลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่งนั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนิน กระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นจนคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 ก็หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไข ฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

ฎีกาน่ารู้1

๐ ปอ. ๓๒๖ -หมิ่นประมาท
ถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย"ไม่เป็นการหมิ่นประมาท (ฎีกาที่ 576/2550)

๐ปอ. ๓๕๗ -รับของโจร

ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยรับของโจรเพื่อค้ากำไร แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า  จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อ ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองไม่ได้ (ฎีกาที่ 528/2550)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2549      
                จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยการเชิญชวนของบุตรสาวผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะมิได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปในบ้านก็ตาม แต่จำเลยก็ได้รับอนุญาตจากบุตรสาวผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้านดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งมิใช่เป็นการเข้าไปเพื่อกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขตาม ป.อ.มาตรา362,364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2549
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้โทรศัพท์ซึ่งมีสายไฟสองสายต่อพ่วงเข้ากับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะของผู้เสียหายแล้วโทรศัพท์ออกไป หลังจากนั้นศาลจึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยความหมายของคำว่า "โทรศัพท์" ตามที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7 ให้ความหมายไว้ว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทาง ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยลอบใช้สัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549
ป.วิ.อ.มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่ คดีลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 50 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2549
โจทก์เป็นวิศวกรฝ่ายผลิตไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารบัญชีการเงิน การที่โจทก์ได้ให้ ส. ลูกจ้างของจำเลยไปเอาบัญชีค่าจ้างมาถ่ายสำเนา เสร็จแล้วก็ได้นำกลับไปคืนที่เดิม แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะเอาบัญชีค่าจ้างนั้นไปเป็นของตน จึงยังไม่เข้าข่ายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลย ส่วนที่โจทก์ถ่ายสำเนาโดยใช้กระดาษและเครื่องถ่ายเอกสารของจำเลย ก็ปรากฏว่าลูกจ้างคนอื่นที่เคยใช้เครื่องถ่ายเอกสารของจำเลยถ่ายเอกสารส่วนตัวเพียงแต่ถูกจำเลยตักเตือนด้วยวาจาเท่านั้น แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรง การกระทำของโจทก์เป็นการถือวิสาสะมากกว่า ไม่มีเจตนาทุจริต ส่วนระเบียบข้อบังคับหมวด 6 ของจำเลยเรื่องความลับเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีอัตราค่าจ้างของลูกจ้างมีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังบุคคลภายนอกซึ่งอาจทำให้คู่แข่งทราบถึงรายได้ของพนักงานแล้วเกิดการดึงตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถไป โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำบัญชีค่าจ้างไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกหรือพนักงานคนใดในบริษัท หรือนำออกนอกบริษัท หรือมีบุคคลภายนอกล่วงรู้ความลับดังกล่าวหรือมีบริษัทใดมาชักชวนพนักงานที่มีความรู้ความสามารถของจำเลยออกไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างในกรณีร้ายแรง


ลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณจากในลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2548
จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมเป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร และการที่จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วยเจตนาอันเดียวกัน เพื่อให้การกระทำความผิดฐานรับของโจรสำเร็จผลตามความมุ่งหมายเท่านั้น ดังนั้น การใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์อันเป็นเอกสารราชการปลอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานรับของโจร
  
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548
รถยนต์ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยซ่อมได้อยู่กับจำเลยนานถึง 1 ปีเศษ ถือได้ว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นไว้ จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2548
แม้ขณะที่ ก. กับ จ. เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจะไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เนื่องจากได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย แต่ ก. กับ จ. มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหาย การที่ ก. กับ จ. ไม่นำมาคืน ผู้เสียหาย กลับนำไปขายให้แก่จำเลยทั้งที่ไม่ใช่ของตน ถือได้ว่า ก. กับ จ. มีเจตนาเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก เมื่อจำเลยรับซื้อไว้ในราคาเพียง 800 บาท ต่ำกว่าราคาแท้จริง 7,000บาท มาก โดยไม่ประสงค์ตรวจสอบเสียก่อนว่าคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ก. กับ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลโดยทั่วไป เชื่อว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่ารถจักรยานยนต์ที่ ก. กับ จ. นำมาขายได้มาจากการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนั้น ไม่ว่าการที่ ก. กับ จ. ได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก การกระทำของจำเลยถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2547
บ้านของจำเลยไม่ได้มีสภาพเป็นอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ แต่ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยกลับพบรถจักรยานยนต์ถึง 3 คัน แต่ละคันมีลักษณะถูกถอดชิ้นส่วนออกจนไม่สามารถขับได้ ทำให้เห็นได้ว่ากรณีไม่น่าจะเป็นเพียงจำเลยซ่อมรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้แล้วถอดรื้อชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของกลางออกจนรถไม่สามารถใช้ขับขี่ได้ พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547
จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานหลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2547
จำเลยเห็นเหตุการณ์ที่คนร้ายผู้ลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเข้ามาในบ้านของจำเลยและถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในยามวิกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่คนร้ายเคยกระทำมาแล้วและจำเลยก็รับรู้โดยถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่ความจริงการซ่อมรถ การถอดชิ้นส่วนรถควรจะกระทำในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการงานของคนทั่วไป การดำเนินการถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในเวลากลางคืนย่อมส่อแสดงถึงความผิดปกติ เมื่อถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยก็นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่นำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไปทิ้งได้ถูกต้อง แสดงว่าจำเลยน่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการนำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้ง สำหรับชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้านของจำเลยวางอยู่ด้านหน้าของบ้านลักษณะเป็นห้องรับแขก บางส่วนอยู่ในกล่องไม่มีอะไรปิดบัง แม้จะเป็นการวางไว้อย่างเปิดเผยและบ้านของจำเลยยังไม่มีประตูรั้วกับประตูบ้านทั้งยังสร้างไม่เสร็จ แต่โดยสภาพของบ้านที่พักอาศัยย่อมถือเป็นที่รโหฐาน บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิเข้าไปโดยมิได้รับอนุญาต การเก็บชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไว้ในบ้านของจำเลยในลักษณะดังกล่าว ไม่พอให้รับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและโดยสุจริตของจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองบ้าน น่าเชื่อว่าจำเลยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ที่นำไปถอดชิ้นส่วนที่บ้านของจำเลยเป็นรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยซ่อนเร้น หรือรับไว้ด้วยประการ         ใด ๆ ซึ่งชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักมา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546
จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าวใช้เชือกผูกผลักลงจากคานบนเสาไฟฟ้า เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมและถูกเคลื่อนมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตามหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546
การที่จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมบนคานเสาไฟฟ้าและถูกเคลื่อนย้ายมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตาม หาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2546
ในช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุม และก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในบ้าน คืนเกิดเหตุผู้ตายได้ปีนเข้าบ้านจำเลยทางช่องลมโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและในขณะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยก็อาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันท่วงที และจำเลยก็ยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ซ้ำแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2546
ผู้เสียหายที่ 1 สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยืดคอกลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจำเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการตามหน้าที่ กรณีอาจทำให้จำเลยเข้าใจผิดไปได้ แม้จำเลยจะต่อสู้ชกต่อยหรือใช้มีดแทงผู้เสียหายที่ 1 เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ตรวจค้นและจับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ไม่แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะให้การรับสารภาพฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่าโดยลำพังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2546
เมื่อมันสำปะหลังที่ขุดเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ปลูกในที่ดินเกิดเหตุ โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ปลูก การที่จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ลักทรัพย์มันสำปะหลังที่ตนปลูกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 หาใช่เป็นเรื่องขาดเจตนาไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ไปให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนยืนยันว่าตนร่วมปลูกมันสำปะหลังกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2546
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันลักมือหมุนเครื่องยนต์รถไถนา 1 อัน และนอตขันแท่นเครื่องยนต์ 3 ตัว ของผู้เสียหายไป โดยเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืนในเคหสถานทรัพย์ที่ลักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมและเป็นการกระทำผิดโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ที่ถูกลักนั้นไป จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 335 วรรคสาม ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 336 ทวิ คงผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2546
จำเลยใช้แขนล็อกคอผู้เสียหายแล้วลากไปที่คูน้ำข้างถนนกดตัวผู้เสียหายลงไปในน้ำจนมิดศีรษะหมดสติและปอดอักเสบเนื่องจากสำลักน้ำ ทำให้ปอดสูญเสียสมรรถภาพของถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้เป็นเวลา4 สัปดาห์ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 1 สัปดาห์ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546
จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้นด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอนและไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2546
จำเลยได้รับแจ้งจาก ห. ว่าผู้เสียหายล่อลวง ห. ไปที่บังกะโลเพื่อล่วงเกินทางเพศ จำเลยโกรธแค้นจึงวางแผนให้ ห. โทรศัพท์ไปหลอกผู้เสียหายให้ออกจากบ้านไปหา ห.ที่จุดเกิดเหตุเพื่อทำร้ายสั่งสอนเป็นการแก้แค้นแทน ห. เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุจำเลยกับพวกที่รออยู่วิ่งเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายทันทีผู้เสียหายหลบหนีจำเลยกับพวกไล่ตามและจำเลยใช้มีดขู่เข็ญพาตัวผู้เสียหายไปแล้วพวกของจำเลยใช้ของแข็งตีศรีษะผู้เสียหายจนผู้เสียหายแกล้งทำเป็นหมดสติจากนั้นจำเลยกับพวกหนีไปโดยถือโอกาสเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยซึ่งการใช้มีดขู่เข็ญผู้เสียหายและการทำร้ายผู้เสียหายในตอนหลังเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากสาเหตุเดิมที่จำเลยโกรธแค้นผู้เสียหายหาใช่ว่าจะมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรกไม่การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา296ไม่ได้คงลงโทษได้ตามมาตรา295เท่านั้นและจำเลยยังมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกด้วยแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธตามมาตรา340วรรคสองเพียงกระทงเดียวศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นตามมาตรา295ประกอบด้วยมาตรา83กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกอีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าข้อหาฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2545
สุกรตัวเกิดเหตุมีน้ำหนักเกือบ 200 กิโลกรัม ไม่สามารถอุ้มหรือจับไปได้โดยง่ายทั้งวัดเจ้าของสุกรก็ไม่ได้กักขัง แต่ปล่อยให้มีอิสระไปไหนมาไหนได้ ขณะที่นายดาบตำรวจ อ. เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 กำลังช่วยกันดึงและผลักดันสุกรให้เข้าไปในซองบรรจุ สุกรยังไม่ได้เข้าไปในซองทั้งตัว ทั้งยังไม่ได้นำขึ้นรถ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ยังไม่อยู่ในฐานะที่สามารถจะนำสุกรไปได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงยังไม่บรรลุผล คงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2545
เงินที่จำเลยทั้งสามลักเอาจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2545
พฤติการณ์ที่จำเลยจับกุมผู้เสียหายในข้อหาลักทรัพย์ของ ส. แล้วให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม จากนั้นนำผู้เสียหายไปควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจประมาณ30 นาที จึงเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวไม่ดำเนินคดีโดยนำผู้เสียหายออกมาโทรศัพท์หา ก. ภริยาผู้เสียหาย ต่อมาเมื่อจำเลยได้รับเงิน3,000 บาท จากผู้เสียหายแล้ว จึงปล่อยผู้เสียหายไปนั้น เป็นกรณีไม่กระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก แม้ว่าการกระทำของจำเลยจะเข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 157 ด้วยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545
สถานที่เกิดเหตุอยู่ในสำนักงานประปาสงขลา (เขตจำหน่ายน้ำหาดใหญ่) อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานประปาสงขลาในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2545
จำเลยที่ 4 เข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ในช่องเก็บสัมภาระใต้ท้องรถเพื่อลักทรัพย์ของผู้โดยสารโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยความรู้เห็นเป็นใจของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขับรถขณะนำรถมาจอดและรับประทานอาหาร การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576 - 577/2545
ผู้ตายทั้งสามมีบาดแผลที่บริเวณศีรษะเป็นจำนวนมากบาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากการถูกตีด้วยของแข็งที่มีน้ำหนักมากจนกะโหลกศีรษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล สำหรับ ส. และ ช. ผู้ตายยังพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลมซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าผู้ตายทั้งสามถึงแก่ความตายเนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทกและขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ ชี้ให้เห็นว่าก่อนผู้ตายทั้งสามจะถึงแก่ความตายได้ถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศีรษะอย่างรุนแรงหลายครั้งอย่างโหดเหี้ยมหลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำ ทั้งยังมีชีวิตอยู่ แสดงว่ามีเจตนาฆ่าโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย

ฎีกาคลาสสิค !

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531
จำเลยโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขายข้อสอบที่จำเลยเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบจากจำเลยหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2531
จำเลยไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แต่ได้ขายน้ำมันพรายให้กับผู้เสียหายในราคา 300 บาท อ้างว่าจะช่วยให้ค้าขายดี นอกจากนี้จำเลยยังคอยบอกผู้เสียหายว่าทำผิดผี ต้องทำพิธีไหว้อาจารย์ จนผู้เสียหายยอมมอบเงินและทรัพย์สินอื่นรวมหลายหมื่นบาทให้จำเลยไปเพื่อทำพิธีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2530
จำเลยขับรถยนต์เข้าไปสั่งให้เติมน้ำมันรถยนต์ที่ปั๊มน้ำมันของผู้เสียหาย เมื่อคนเติมน้ำมันเติมน้ำมันเกือบจะเต็มถังจำเลยพูดว่าไม่มีเงินเดี๋ยวจะเอามาให้ คนเติมน้ำมันบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน แต่จำเลยได้ขับรถออกไปทันที ขณะเติมน้ำมันจำเลยไม่ได้ดับเครื่องยนต์รถและฝาปิดถังน้ำมันก็ไม่มีโดยใช้ผ้าอุดไว้แทนแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนการไว้เพื่อจะไม่ชำระเงินค่าน้ำมันเมื่อได้น้ำมันมาแล้ว โดยจะรีบหนีไปอันเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ พฤิตการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้นที่จะลักเอาน้ำมันของผู้เสียหาย
( เปรียบเทียบ) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2529
จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันเบนซินที่บ้านผู้เสียหายจำนวน5ลิตรเมื่อเติมน้ำมันเสร็จภริยาผู้เสียหายทวงเงินค่าน้ำมันจำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือซึ่งฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดพูดว่าไม่มีเงินมีไอ้นี่เอาไหมภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดจำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ออกไปการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายเพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำระราคาเท่านั้นการที่จำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือและพูดเช่นนั้นเป็นวิธีการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2527
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมไขกุญแจประตูรถและติดเครื่องยนต์มิใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ และกุญแจประตูรถเป็นส่วนหนึ่งของรถ จำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ตาม มาตรา 335(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2527
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้น ผู้ให้เช่าให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้วย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดขึ้นมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2527
จำเลยขึ้นไปบนต้นลำไย หักลำไยทั้งกิ่งจากต้นลำไยใส่ในเข่ง เจ้าพนักงานจับจำเลยขณะกำลังอยู่บนต้นและกำลังหักกิ่งลำไยใส่เข่งอยู่ เป็นการแยกหรือเคลื่อนที่ผลลำไยออกจากต้น และเข้ายึดถือเอาผลลำไยจำนวนนั้นไว้แล้ว อันเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1153/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2526
จำเลยกับพวกมีเจตนาแต่ต้นเพียงเพื่อจะฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุกันมาก่อน เมื่อฆ่าผู้ตายสำเร็จแล้วจึงพลอยถือโอกาสเอาปืนของผู้ตายไปด้วย การลักทรัพย์เป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังอันเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288, 335(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2523
แผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข ต.ค.01839 ของกลางเป็นหมายเลขทะเบียนที่ทางการออกให้กับรถยนต์คันหนึ่งของจำเลยที่ถูกชนพังใช้การไม่ได้ แม้แผ่นป้ายดังกล่าวจำเลยเป็นผู้กระทำเพื่อใช้แทนแผ่นป้ายอันแท้จริงซึ่งทางการจะต้องเป็นผู้ทำ และมอบให้เจ้าของรถยนต์ก็ตามแต่โดยทางปฏิบัติ หากทางการยังไม่มีป้ายทะเบียนให้ ก็อนุโลมให้ถือว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนโดยชอบ แต่จะนำป้ายทะเบียนของกลางไปใช้กับรถยนต์คันอื่นหาได้ไม่ การที่จำเลยนำแผ่นป้ายหมายเลขทะเบียนดังกล่าวไปติดเพื่อใช้กับรถยนต์คันของกลาง โดยมีเจตนาแสดงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า รถยนต์คันของกลางซึ่งเป็นรถที่ผิดกฎหมายเป็นรถที่มีทะเบียนถูกต้อง จึงเห็นได้ว่าแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข ต.ค.01839 ที่จำเลยทำขึ้นนั้น หาได้นำไปใช้กับรถยนต์คันของตนที่ได้รับอนุญาตไม่ หากแต่นำไปใช้เป็นหมายเลขทะเบียนปลอมของรถยนต์คันของกลางโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนให้หลงเชื่อว่าแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลขนั้นเป็นเอกสาราชการอันแท้จริงที่ทางการออกให้ใช้กับรถยนต์คันของกลาง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2516
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัทค้าน้ำมัน มีหน้าที่เพียงจ่ายหรือเติมน้ำมันให้แก่ผู้ที่นำใบสั่งจ่ายมายื่นเท่านั้นน้ำมันเก็บรักษาไว้ในคลังน้ำมันซึ่งมีผู้อื่นเป็นผู้จัดการ ดังนี้ ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองน้ำมัน เมื่อจำเลยจ่ายน้ำมันเกินกว่าจำนวนตามใบสั่ง แล้วเอาน้ำมันที่จ่ายเกินนั้นไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2503
ทรัพย์สินหายเป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง ผู้ใดเก็บเอาทรัพย์นั้นไป จะเป็นลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหาย ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นรายๆ ไป คือถ้าเก็บเอาไปโดยรู้หรือควรรู้ว่าทรัพย์นั้นเจ้าของกำลังติดตามหรือจะติดตามเพื่อเอาคืนก็เป็นลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ก็เป็นยักยอกทรัพย์สินหาย
รถทหารคว่ำทำให้ปืนทหารตกน้ำ 1 กระบอก ทหารงมหา 2 ครั้งไม่พบ จึงไปแจ้งความที่อำเภอ ต่อมาตอนค่ำวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยไปงมเอาปืนนั้นมาขายเสีย แสดงว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่ารถทหารคว่ำปืนจมน้ำอยู่ แล้วถือโอกาสตอนปลอดผู้คนไปงมเอาปืนที่อยู่ในระหว่างเจ้าของกำลังติดตามเพื่อเอาคืน จึงผิดฐานลักทรัพย์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2503)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2503
จำเลยเข้าไปในร้านขอซื้อสุราเจ้าของร้านบอกว่าหมดเวลาแล้วขายไม่ได้ จำเลยพูดว่าไม่ขายก็จะเอาไปกินเฉยๆ จะทำอะไรเขา แล้วจำเลยหยิบขวดสุราออกจากร้านไปด้วย ดังนี้เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501
การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี

คุณพี่ตำรวจพึงระวัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2545
พฤติการณ์ที่จำเลยจับกุมผู้เสียหายในข้อหาลักทรัพย์ของ ส. แล้วให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม จากนั้นนำผู้เสียหายไปควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจประมาณ30 นาที จึงเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวไม่ดำเนินคดีโดยนำผู้เสียหายออกมาโทรศัพท์หา ก. ภริยาผู้เสียหาย ต่อมาเมื่อจำเลยได้รับเงิน3,000 บาท จากผู้เสียหายแล้ว จึงปล่อยผู้เสียหายไปนั้น เป็นกรณีไม่กระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836 - 7837/2544
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิด แต่เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย การร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมายหรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2537
จำเลยที่ 1 กับพวกหลอกลวงโจทก์ว่ารู้จักกับผู้ใหญ่ในกรมตำรวจสามารถฝากบุตรโจทก์ให้เข้ารับราชการตำรวจได้โดยขอค่าวิ่งเต้น200,000 บาท โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่า โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งการกระทำดังกล่าวก็หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกไม่สามารถดำเนินการได้และต่อมาได้ทำบันทึกโดยมีข้อความว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดตามพวกของจำเลยที่ 1 ให้มาชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ภายในกำหนด 6 เดือนจำเลยที่ 1 จะรับผิดชดใช้แทนโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำบันทึก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2536
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานยศสิบตำรวจเอกได้พูดกับโจทก์ร่วมว่าร้านของโจทก์ร่วมเป็นเจ้ามือหวยเถื่อน อย่างนี้ต้องมีผลประโยชน์และให้เอาเงินใส่ซองมาให้บ้าง ถ้าไม่ให้จะตาม สวป. (สารวัตรปกครองป้องกัน) มาดำเนินการจับกุมเมื่อโจทก์ร่วมไม่ให้เงินแก่จำเลยจำเลยได้ไปแจ้งเหตุต่อสารวัตรปกครองป้องกันว่า พวกในตลาดกำลังเล่นการพนันสลากกินรวบขอให้ไปทำการจับกุมตามที่จำเลยขู่โจทก์ร่วมแต่ปรากฏว่าไม่มีการเล่นแต่อย่างใดถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจูงใจเพื่อให้โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้ โดยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2535
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไป ต่อมาในคืนเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไว้เป็นของกลาง เนื่องจากคนร้ายขับไปชนคนได้รับบาดเจ็บ การที่รถจักรยานยนต์ได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ในคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโดยไม่ได้เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายและไม่ได้เข้ามาอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตำรวจในคดีที่มีการลักรถจักรยานยนต์ยังถือไม่ได้ว่าขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไว้นั้น รถจักรยานยนต์พ้นสภาพจากทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด เพราะเจ้าพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ก็ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การที่จำเลยติดต่อ ช. ผู้รับฝากรถจักรยานยนต์ไว้ในคืนเกิดเหตุให้นำเงินไปไถ่ในวันรุ่งขึ้น เป็นการช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นทรัพย์ที่อยู่ในสภาพที่ถูกลักมาแต่การช่วยจำหน่ายของจำเลยไม่สามารถที่จะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะรถจักรยานยนต์ยังอยู่ในความยึดถือของเจ้าพนักงานตำรวจที่ยึดไว้ในคดีอื่น จำเลยไม่อาจช่วยให้มีการไถ่ถอนตามที่ได้เจตนาจะให้เกิดผลได้เลย จึงเป็นความผิดฐานพยายามรับของโจรที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357วรรคแรกประกอบมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2535
เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แต่งเครื่องแบบและไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นโดยไม่แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ กลับสั่งให้คนขับรถที่เด็กวัยรุ่นโดยสารมาขับรถไปสถานีตำรวจ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ผู้ต่อสู้ขัดขวางมิให้จับกุมไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2530
โจทก์ร่วมให้เงินแก่จำเลยสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายกับค่าติดต่อกับผู้ใหญ่เพื่อช่วยเหลือโจทก์ร่วมให้เข้าทำงานเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมให้เงินไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานอันเป็นการใช้ให้กระทำผิดกฎหมาย โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกงกับจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2523
ตามฟ้องว่า จำเลยเป็นตำรวจตั้งด่านตรวจรถ การกระทำเช่นนี้ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้เสียหายแก่ผู้ขับขี่รถ การกระทำตามฟ้องดังนี้เป็นการกระทำนอกหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ธุรกิจของบริษัท

เราไม่ได้อยู่ในธุรกิจว่าความที่ให้บริการลูกค้า แต่อยู่ในธุรกิจบริการลูกค้าด้วยการว่าความ
การวัดความสำเร็จของบริษัท มิใช่วัดด้วยว่า บริษัทมีกำไรมากหรือน้อยแค่ไหน แต่วัดว่า ลุกความได้รับประโยชน์จากบริษัทมากเพียงใด

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

แบบสำรวจลูกความ

วันที่ ….........................................

โปรดกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มนี้มากเท่าที่คุณจะกรอกได้ (ข้อมูลที่กรอกลงไป ถือว่าเป็นความลับ)

๑. ข้อมูลส่วนบุคคล

ชื่อ

อายุ

ที่อยู่

โทร

สถานภาพ

บุตร


๒. ข้อมูลบริษัท

คุณรู้จักบริษัทได้อย่างไร
จากคำแนะนำของ................................(โปรดระบุ)
สมุดโทรศัพท์
อื่น ๆ
คดีที่คุณต้องการให้บริษัททำให้
แพ่ง อาญา ครอบครัว ล้มละลาย
อื่นๆ(โปรดระบุ).....................................
ธุรกิจ แรงงาน

คุณเคยไปพบทนายความคนอื่น
หรือไม่ ถ้าเคย เป็นใคร(โปรดระบุ)



คุณเคยไปพบแพทย์หรือไม่
ถ้าเคย เป็นใคร(โปรดระบุ)







๓. รายละเอียดเกี่ยวกับคดี

ประเด็น
รายละเอียดในคดี
ข้อเท็จจริงจากลูกความ
วัน เวลา เกิดเหตุ


สถานที่

ทำไมต้องไปที่นั้น /วาดแผนที่เกิดเหตุด้วย
พฤติการณ์ในคดี














พฤติการณ์จับกุม


มีการนำส่งพนักงานสอบสวนเลยหรือไม่
มีการนำตัวไปขยายผล
มีการซ้อมหรือทำร้ายร่างกายหรือไม่

พยานบุคคล





ผู้จับกุม
พนักงานสอบสวน

พยานเอกสาร







พยานวัตถุ





พฤติการณ์ทางคดีอื่นๆ
ผู้ต้องหาหลบหนี ถูกหมายจับ

ความเห็นทางคดีอื่นๆ



๔. ผลเกี่ยวกับคดี สุดท้ายที่ลูกความต้องการ (โปรดระบุให้ละเอียด)